ข้อความต้นฉบับในหน้า
7) การถนอมทรัพย์
ทรัพย์สินใดๆ ไม่ว่าจะแข็งแรงทนทาน มีคุณภาพดีเพียงใด ก็ย่อมเสื่อมสลายไปได้
ตามกาลเวลา ตามอายุการใช้งาน แม้จะรู้ว่าทรัพย์นั้นต้องมีวันเสื่อม แต่การยืดอายุทรัพย์เพื่อ
จะได้สามารถใช้ได้นาน ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ เป็นการรักษาทรัพย์ให้ยั่งยืน บุคคลที่เห็นความ
สำคัญของการถนอมทรัพย์ ย่อมยังตระกูลให้มั่นคงอยู่ได้นาน เพราะมีทรัพย์สมบัติให้ใช้ได้
นานๆ มีวิธีการสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. แสวงหาสิ่งของที่หายไป คือ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใดเมื่อ
สูญหายไป ต้องตามกลับคืนมาให้ได้ โดยไม่ปล่อยปละละเลย เห็นว่ามีค่าเพียงเล็กน้อยไม่ได้
เพราะจะเป็นการสร้างนิสัยมักง่าย ประมาท ขาดความระมัดระวัง
2. ซ่อมแซมสิ่งของที่เสียหายแล้วให้กลับมาใช้ได้ดีดังเดิม คือ ทรัพย์ถ้าเสียหาย
เพียงเล็กน้อย ซ่อมได้ก็ต้องซ่อมแซมทันที ไม่ปล่อยให้เสียหายมากแล้วค่อยมาซ่อม หรือ คิด
จะซื้อมาใหม่โดยไม่ยอมซ่อมแซม ด้วยคิดว่า มีราคาเพียงเล็กน้อย จึงไม่ยอมซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการใช้สอยบริโภคทรัพย์ คือ ใช้สอยอย่างประหยัดตามความ
จำเป็น ไม่น้อยเกินไปจนตนเองลำบาก และไม่มากเกินไปจนต้องทิ้งต้องขว้าง อันเป็นการสร้าง
นิสัยสุรุ่ยสุร่าย หรือ ตระหนี่ถี่เหนียว
4. แต่งตั้งคนดีเป็นคนดูแลทรัพย์ คือ ให้คนดีมีศีลธรรมเป็นคนดูแลรับผิดชอบ
ในทรัพย์เพราะจะเป็นหลักประกันได้ว่าทรัพย์นั้นจะถูกนำมาใช้อย่างระมัดระวังละเอียดรอบคอบ
และมีความปลอดภัย
ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจของมนุษย์ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต ควรถนอม
รักษาทรัพย์นั้นไว้ให้ดี
8) การฝังขุมทรัพย์
มี 2 ประเภท
1. ฝังทรัพย์หยาบ คือ การเก็บทรัพย์ไว้ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์หยาบ ไม่ว่าจะ
เป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ โดยในปัจจุบัน มีการนำไปฝากกับธนาคารบ้าง เก็บไว้
ในตู้นิรภัยบ้าง การเก็บทรัพย์เช่นนี้นั้นมีความปลอดภัยไม่มากนัก และถ้ายิ่งเก็บสะสมไว้มากๆ
ในลักษณะที่ตั้งใจเก็บไว้เป็นมรดกของตระกูล เป็นมรดกสำหรับลูกหลาน โดยที่เจ้าของทรัพย์
ไม่มีความจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ในชีวิตอีก ก็กล่าวได้ว่าทรัพย์นั้นมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์
บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 83