ข้อความต้นฉบับในหน้า
แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคนฟังอยู่ที่ไหนบ้าง การรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงให้ผู้ฟังเกิด
ความเข้าใจง่ายด้วยคำพูดของเราเอง ก็จะเกิดขึ้นมา ทำให้เราสามารถเขียนเนื้อหาคำบรรยาย
ของตนเองออกมาได้ล่วงหน้า และทำให้เรามีเวลาขัดเกลาและกลั่นกรองจนกระทั่งเหลือแต่
คำพูดเป็นวาจาสุภาษิตที่เหมาะสมกับบุคคล เวลา และสถานที่ อีกทั้งยังสร้างประโยชน์ที่จะ
ตามมาให้แก่ทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย
4.2) การเล่าธรรมะ
การเล่าธรรมะให้น่าฟัง จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวมาอย่างดี โดยผู้เล่าต้องปฏิบัติ
ตามคุณสมบัติของผู้เล่าธรรมะที่ดี 5 ประการดังนี้ คือ
1) ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่อง ไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอน
แสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่แสดงเช่นนี้ได้จะต้อง
1.1) มีความรู้จริง คือรู้เรื่องที่จะเทศน์จะสอนดีพอจะทราบว่าอะไรควร
พูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง
1.2) มีวาทศิลป์ คือมีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด
รู้สภาพจิตใจของผู้ฟังว่าควรรู้อะไรก่อน อะไรหลัง
1.3) ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้า ทำอะไร
มีแผน ไม่ดูเบา ไม่ใช่เล่าธรรมะตามอำเภอใจ
การเล่าธรรมะต้องเริ่มต้นด้วยการมีองค์ประกอบ 3 อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมไป
ลุ่มลึกตามลำดับ
2) ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ผู้เล่าธรรมะจะต้องเข้าใจเรื่องที่
จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็ให้เหตุให้ผล ยกตัวอย่างประกอบ
แยกแยะให้เห็นภาพอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหนประเด็นไหนก็ชี้แจง
ให้ฟังได้
3) ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่
เต็มเปี่ยมใจ พูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทัน สติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่
ละทิ้งกลางคัน แม้จะพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดีต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมะจริงๆ มุ่งทำ
ประโยชน์ให้ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที
148 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ