ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ
2. เห็นว่ายัญที่บูชาแล้วมีผล
สิ่งดี ควรทำ
คือเห็นว่าการสงเคราะห์ช่วยเหลือบุคคลอื่นเป็น
3. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ
4. เห็นว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
5. เห็นว่าโลกนี้มีจริง
6. เห็นว่าโลกหน้ามีจริง
7. เห็นว่ามารดามีพระคุณต่อเราจริง
8. เห็นว่าบิดามีพระคุณต่อเราจริง
9. เห็นว่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (นรกสวรรค์มีจริง)
10. เห็นว่าสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ หมดกิเลสแล้ว สอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้งตามมีจริง
เจตนารมณ์ของความมีใจสะอาดข้อนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นใจดี มีมาตรฐาน
ความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูก มีหลักการ มีแนวคิดที่ถูกต้อง ส่งผลให้
ความคิดในเรื่องอื่นถูกต้องตามไปด้วย
2) เตรียมอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
คนที่จะอารมณ์ดีได้ คือคนที่มีใจผ่องใสตั้งแต่เช้าจรดเย็น ปู่ย่าตาทวดมีวิธีง่ายๆ คือ
ให้ปฏิบัติตามนี้ตลอดทั้งวัน
1. เช้าใดยังไม่ทำทาน อย่าเพิ่งทานข้าว ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยแบ่งปัน และป้องกัน
ความคิดโลภอยากได้ของใคร
2. วันใดยังไม่รักษาศีล อย่าเพิ่งออกจากบ้าน ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยไม่เบียดเบียน
ผู้อื่น และป้องกันความคิดโกรธเคืองแค้นใจผู้อื่นด้วยการให้อภัย
3. คืนใดยังไม่ทำภาวนา อย่าเพิ่งเข้านอน ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยรักความสงบ และ
ป้องกันความเป็นคนเจ้าอารมณ์ขาดเหตุผล
คนที่ทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน ย่อมเป็นคนมีใจสะอาดไม่ขุ่นมัวง่าย มีอารมณ์ผ่องใส
จะคิด พูด ทำสิ่งใด ก็ทำด้วยความมีสติไตร่ตรองด้วยเหตุผล คำนึงถึงความถูกต้องดีงามเหมาะสม
ไม่มีโทษแล้วจึงทำ เมื่อถึงคราวที่ต้องแนะนำธรรมะให้แก่ใคร ก็มีใจที่ละเอียด สามารถ
บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 145