ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถ่ายทอดธรรมะด้วยอารมณ์ที่ผ่องใส ส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสในธรรมะ และอยาก
ปฏิบัติตาม เพราะชอบในอัธยาศัยที่พาเย็นใจ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในธรรมะที่ฟังว่า เป็นสิ่ง
ที่ถูกต้องจริง ดีจริง และเป็นประโยชน์จริง สมควรที่จะประพฤติปฏิบัติตาม
3) เข้าใจปัญหาชีวิตของคน
ปัญหาพื้นฐานของชีวิตคนนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า มี 4 ปัญหาใหญ่ คือ
1. ปัญหาความขาดแคลน คือ ปัญหาความไม่มีทรัพย์ เช่น ปัจจัย 4 ไม่พอกิน เงิน
ทองไม่พอใช้ ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการแบ่งปันกันอยู่ แบ่งปันกันกิน แบ่งปันกันใช้
2. ปัญหาขาดกำลังใจ คือ ปัญหาเหน็ดเหนื่อยท้อแท้ใจ เช่น ทำงานเหนื่อยยากแต่
ถูกโกง ตั้งใจทำความดีแต่ถูกใส่ร้าย จริงใจกับผู้อื่นแต่กลับโดนหลอกใช้ ซึ่งแก้ไขด้วยการให้
คำพูดที่ไพเราะประกอบด้วยข้อคิดที่ทำให้ผู้ฟังหายเหนื่อย ยกใจผู้ฟังข้ามพ้นความท้อแท้ได้
3. ปัญหาขาดความช่วยเหลือ คือ ปัญหาขาดกำลังความรู้ กำลังความสามารถ กำลัง
คน ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้ในการทำงาน ความรู้ในการ
ดูแลสุขภาพ ความรู้ในการพัฒนาจิตใจ ในกรณีนี้ไม่ใช่การขาดแคลนทรัพย์และขาดแคลนกำลังใจ
แต่ขาดแคลนความรู้ที่จะเอาชนะอุปสรรคนั้นๆ จึงต้องการผู้ที่สามารถแนะนำความรู้และการ
กระทำที่ช่วยให้เอาชนะอุปสรรคความขัดข้องนั้นได้
4. ปัญหาขาดความปลอดภัย คือ ปัญหาขาดความไว้วางใจจากมิตรสหาย สาเหตุ
เกิดจากความไม่จริงใจและการวางตนไม่เหมาะสมกับฐานะที่ตัวเป็น เช่น เป็นพ่อแม่ประพฤติ
ตนไม่เหมาะสมกับฐานะพ่อแม่ เป็นครูอาจารย์ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับฐานะครูอาจารย์
เป็นต้น ซึ่งจะแก้ไขได้ต่อเมื่อมีกัลยาณมิตร ผู้มีความจริงใจ ไม่ทอดทิ้งคอยให้คำแนะนำที่มี
ประโยชน์ต่อการประพฤติอยู่ในศีลธรรมและการวางตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับฐานะที่เขาเป็น
4) เตรียมธรรมะที่เหมาะสมกับผู้ฟัง
4.1) การเตรียมเนื้อหา
การเตรียมเนื้อหาธรรมะ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง
งถึงก็คือ ผู้ฟังเป็นใคร เวลานั้นเขา
ขาดธรรมะเรื่องอะไร เราจึงจะรู้ว่าเราต้องเตรียมธรรมะเรื่องใดไปเล่าให้เขาฟังถึงเป็นการ
เหมาะสม เพื่อให้เขาเกิดแสงสว่างทางปัญญาในการดำเนินชีวิต และเพิ่มพูนในศรัทธาต่อพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยผู้เตรียมเนื้อหาจะต้องเรียบเรียงเนื้อหาที่ตนจะใช้พูดให้มีองค์ประกอบ
ของวาจาสุภาษิต 5 ประการ คือ
146 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ