ข้อความต้นฉบับในหน้า
5) การวางแผนเก็บทรัพย์
การวางแผนเก็บทรัพย์ เป็นเรื่องของบุคคลผู้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต คิดเห็น
การณ์ไกล จึงได้เก็บรวบรวมทรัพย์ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ไม่หลงเมามัวในชีวิต ใช้จ่ายเพียงเพื่อ
ความเพลิดเพลินในกามคุณ แต่รู้จักแบ่งทรัพย์เป็นส่วนๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพย์ได้อย่างเต็มที่
พระพุทธองค์ได้ให้หลักการวางแผนไว้ คือ
“บัณฑิตอยู่ครองเรือน จึงแบ่งทรัพย์เป็น 4 ส่วน จึงใช้สอย 1 ส่วน พึงประกอบการงาน
2 ส่วน จึงเก็บส่วนที่ 4 ไว้ เผื่อจักมีอันตราย”
สรุปว่า พระพุทธองค์ให้วางแผนแบ่งทรัพย์ เป็น 4 ส่วนคือ
1. เก็บไว้ใช้สอย 1 ส่วน
1
2. เก็บไว้เพื่อประกอบการงาน 2 ส่วน
3. เก็บไว้เผื่อเหตุอันตรายในอนาคต 1 ส่วน
การรู้จักวางแผนเก็บทรัพย์ คิดก่อร่างสร้างตัวสร้างฐานะแต่ยังหนุ่ม เป็นความคิดของ
คนมีปัญญาเพราะเห็นภัยจากความยากจน เจ็บ โง่ และภัยในชีวิต จึงทำงานหนัก แม้การเก็บ
ทรัพย์จะทำให้ลำบากในตอนแรก แต่ก็จะสบายในภายหลัง เพราะทรัพย์จะบันดาลความสุข
มาให้ เกิดจากการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น
6) การป้องกันอันตรายแก่ทรัพย์
ทรัพย์ที่หามาได้โดยยากลำบาก ต้องใช้ชีวิต สติปัญญา ความรู้ เข้าไปแลก หากเก็บ
รักษาไว้ไม่ดี อันตราย โทษภัยใด ๆ ก็เกิดกับทรัพย์นั้นได้
อันตรายที่จะเกิดจากทรัพย์มี 5 ประการ คือ
1. อันตรายจากไฟ คือ ไฟอาจไหม้ได้
2. อันตรายจากน้ำ คือ น้ำอาจท่วมได้
3. อันตรายจากผู้ปกครองบ้านเมือง คือ ถูกข่มขู่ รีดไถ่ บีบบังคับเอาไปได้
4. อันตรายจากโจรผู้ร้าย คือ โจรอาจขโมยได้
5. อันตรายจากทายาทผู้ไม่ประพฤติธรรม คือ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักอาจนำไปได้
เมื่อรู้ว่าทรัพย์อาจจะเกิดภัยอันตรายได้ ต้องหาทางป้องกันล่วงหน้า โดยตั้งอยู่
ในความไม่ประมาท หมั่นตรวจตราทรัพย์นั้นอยู่เสมอ
82 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ