พฤติกรรมของคนดีและคนพาล GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 97
หน้าที่ 97 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนพาล ซึ่งมักเลือกสิ่งที่ผิด และไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย รวมถึงพฤติกรรมของคนดีที่ถือว่าเป็นแบบอย่าง เช่น การทำความดีและการยอมรับคำตักเตือน นอกจากนี้ยังเสนอวิธีป้องกันอันตรายจากคนพาล โดยเน้นไม่คบคนพาลเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและสร้างความเจริญให้กับตนเองและสังคม

หัวข้อประเด็น

-พฤติกรรมของคนพาล
-พฤติกรรมของคนดี
-การป้องกันอันตรายจากคนพาล
-วินัยและการทำงาน
-การสื่อสารและคำตักเตือน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.3) คนพาลชอบแต่สิ่งที่ผิด ๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่น ชอบเล่นไพ่ สูบบุหรี่ เห็นคนทำถูกว่าเป็นคนโง่ เป็นต้น 3.4) คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ประกอบอาชีพด้วยความสุจริตเพื่อ ความเจริญก้าวหน้าของตนเองและประเทศชาติก็โกรธ เป็นต้น 3.5) คนพาลไม่รับรู้ระเบียบวินัย เช่นไปทำงานสาย แต่เลิกงานก่อนเวลา เป็นต้น 4) ต้องรู้จักพฤติกรรมของคนดี คนดีคือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ จึงทำให้มี สัมมาทิฏฐิคือมีความเห็นถูกเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง เป็นผู้ที่รู้อะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่ว และรู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป คนที่มีพฤติกรรมอย่างน้อย 5 ประการดังต่อไปนี้ 4.1) คนดีชอบชักนำในทางที่ถูก เช่น ชักนำให้เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา เป็นต้น 4.2) คนดีชอบทำแต่สิ่งที่เป็นธุระไม่เกะกะเกเรใคร ๆ เร่งรีบทำการงานในหน้าที่ ของตนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่ปล่อยงานให้คั่งค้าง 4.3) คนดีชอบทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควร เช่น ชอบพูดและทำตรงไปตรงมา ชอบ สนทนาธรรม รังเกียจการนินทาว่าร้าย เป็นต้น 4.4) คนดีเมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือนโดยดีย่อมไม่โกรธ มีนิสัยถือเอาความถูก ความดี และความมีประโยชน์เป็นที่ตั้ง ไม่ถือตัวอวดดีดื้อรั้น 4.5) คนดีย่อมรับรู้ระเบียบวินัย รักที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยของหมู่คณะ อย่างเคร่งครัด เพราะตระหนักดีว่าวินัยเป็นเครื่องยกหมู่คณะให้เจริญขึ้นได้จริง 5) ต้องรู้วิธีป้องกันอันตรายจากคนพาล วิธีป้องกันอันตรายจากคนพาลที่ดีที่สุดคือ ไม่คบคนพาล คำว่า คบ หมายถึง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สิ่งของ 1 5.1) ร่วม เช่น ร่วมกัน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน 5.2) รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน 5.3) ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืม การไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใด ๆ ดังกล่าวข้างต้นกับคนพาล พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ, มงคลชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า, 2548, หน้า 23-24 86 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More