ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะ ประชll
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (เฮือกสุดท้ายของชีวิต)
๓๗๕
ท่านเศรษฐีค่อยๆ ปล่อยใจไปตามเสียงของพระเถระ
ทําตามคําแนะนําที่ท่านบอกไปเรื่อยๆ พยายามแยกกายกับใจ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย เอาใจหยุดนิ่งอยู่ในกลางให้ได้ตลอด
เวลา จะได้ไม่ต้องทุกขเวทนา พระเถระเห็นว่าท่านเศรษฐีตั้งใจ
ที่จะบ่มทุกขเวทนาด้วยการฟังธรรม จึงได้แสดงธรรมให้ท่าน
เศรษฐีปล่อยวางในขันธ์ ๕ ว่า “ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักไม่ยึดมั่นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ธรรมารมณ์ กระทั่งวิญญาณที่อาศัยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ธรรมารมณ์ จักไม่มีแก่เรา”
พระเถระได้สอนธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป ท่าน
สอนให้พิจารณาเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแค่ธาตุ และไม่ให้
ยึดมั่นในธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณ
ธาตุ ให้ปล่อยวางในอรูปทั้ง ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญา
ณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ให้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นในโลกนี้โลกหน้า ให้ใจดวงนี้อยู่กับ
ปัจจุบันธรรมอย่างเดียว อารมณ์ใดที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้
รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว อย่าได้ไปยึดมั่นใน
อารมณ์เหล่านั้น
ขณะที่พระสารีบุตรกล่าวสอนธรรมอยู่นั้น อนาถบิณฑิก-