ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 1
1.1 ประวัติศาสตร์คืออะไร
บทน่า
ประวัติศาสตร์คืออะไร นักศึกษาหลายท่านคงคิดว่า เป็นคำถามที่ไม่น่าจะถาม
เพราะคำตอบชัดแก่ใจของนักศึกษาดีอยู่แล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่นักศึกษาคิดว่ารู้แล้ว
ความรู้นั้นกลับไม่ตรงกันแต่ละคนจะให้นิยามแตกต่างกันตามความคิดและประสบการณ์ของตน
ถ้ารู้จริง สิ่งที่รู้นั้นก็ควรจะตรงกัน เพราะในเรื่องเดียวกันสิ่งที่ถูกต้องมีเพียงหนึ่งเดียว แม้แต่
นักประวัติศาสตร์เองที่เกือบทั้งชีวิตทุ่มเทศึกษาในเรื่องนี้มายาวนาน ก็ยังให้คำตอบไม่ตรงกัน
เสียทีเดียว
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้ความหมายว่า ประวัติศาสตร์ คือ “การศึกษาความเป็นมา
ของมนุษยชาติหรือสังคมใดสังคมหนึ่งตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ถึงอนาคต โดยอาศัยวิธีการ
บางประการที่เป็นที่รู้จักกันว่าวิธีของประวัติศาสตร์ (historical method)
ดร.สืบแสง พรหมบุญ ให้ความหมายของประวัติศาสตร์ไว้ 2 ประการ ในความหมาย
ที่กว้างที่สุด ประวัติศาสตร์ หมายถึง “ประสบการณ์ทั้งมวลในอดีตของมนุษย์” ส่วนอีกความหมาย
หนึ่ง หมายถึง “การเขียนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ และประสบการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์
เห็นว่ามีคุณค่าขึ้นมาใหม่โดยอาศัยการค้นคว้า การวิเคราะห์ และการตีความจากหลักฐาน
ทั้งปวงที่มีอยู่”2
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้ความหมายประวัติศาสตร์ไว้ว่า “การศึกษาประวัติของ
มนุษยชาติ ซึ่งหมายถึง ความทรงจำของสังคมมนุษย์ในอดีตที่ได้รับการบันทึกไว้ คำว่า
ประวัติศาสตร์ มาจากการสมาสคำว่า “ประวัติ” ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป กับคำว่า
“ศาสตร์” ซึ่งแปลว่า ความรู้ เข้าด้วยกัน เพื่อบัญญัติใช้หมายถึง คำว่า history ในภาษาอังกฤษ”
1 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ข้อคิดเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์, ปรัชญาประวัติศาสตร์, 2527 หน้า 65
* นันทนา กปิลกาญจน์, ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก, 2539 หน้า 4
* วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2549). ความหมายประวัติศาสตร์. (ออนไลน์)
4 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุ ท ธ ศ า ส น า