อาศรม 4 ในศาสนาพราหมณ์ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 43
หน้าที่ 43 / 249

สรุปเนื้อหา

อาศรม 4 เป็นลำดับขั้นแห่งวิถีชีวิตในศาสนาพราหมณ์ แบ่งออกเป็น ยัชโญปวีต, คฤหัสถ์, วนปรัสถ์, และ สันยาสี การดำเนินชีวิตเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุโมกษะ โดยมีอิทธิพลต่อชีวิตสังคม มีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติตาม พัฒนาจากความเชื่อในพระเวทและการบูชายัญสู่การเคารพและการทำความดี

หัวข้อประเด็น

-อาศรม 4
-โมกษะ
-ศาสนาพราหมณ์
-การบำเพ็ญกุศล
-วิถีชีวิตในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เรียกว่ายัชโญปวีต เท่ากับเป็นการประกาศและปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีที่จะต้องเชื่อฟัง ครูบาอาจารย์ ต้องมีความประพฤติเรียบร้อย ต้องเคารพต่ออาจารย์ทุกโอกาส และต้องเรียน อยู่ในสำนักของอาจารย์อย่างน้อย 12 ปี จึงสำเร็จการศึกษา 2) คฤหัสถ์ (Grihastha : Householder) แปลว่า ผู้ครองเรือน เป็นวัยที่แสวงหาความ สุขทางโลกตามฆราวาสวิสัย ต้องแต่งงานและมีบุตรอย่างน้อย 1 คน เพื่อใช้หนี้บรรพบุรุษและ เป็นการป้องกันมิให้บิดามารดาตกนรกขุม “ปุตตะ” จะต้องประกอบอาชีพให้มีฐานะมั่นคงใน ทางฆราวาส ปฏิบัติตามกฎของผู้ครองเรือน ตลอดจนเอาใจใส่ในการประกอบยัญพิธี 3) วนปรัสถ์ (Vanaprastha : Hermit) แปลว่า ผู้อยู่ป่า หลังจากสร้างฐานะในเพศ คฤหัสถ์ได้แล้ว มีบุตรธิดาสืบสกุลแล้ว ก็ยกทรัพย์สมบัติให้บุตรธิดา แล้วออกไปอยู่ในป่าเพื่อ แสวงหาความสุขสงบจากวิเวก บำเพ็ญเพียรทางใจและข้อปฏิบัติอื่นๆ ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ยังมีภรรยาเหมือนกับบุคคลทั่วไป แต่มุ่งบำเพ็ญความดีเพื่อสัมปรายภพให้มากยิ่งขึ้น 4) สันยาสี (Sannyasa : Ascetic) แปลว่า ผู้แสวงหาธรรม พิธีบวชเป็นสันยาสี คุรุ (ครู) จะทำพิธีสวดมนต์บูชาพระเจ้า แล้วสอนให้ผู้บวชว่าตาม เสร็จแล้วคุรุจะอบรมให้ผู้ถือบวช ทราบทางปฏิบัติ การถือบวชเป็นสันยาสีนับเป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตของผู้ที่หวังประโยชน์สูงสุด ฉะนั้นจึงต้องสละโลกและบุตรภรรยา ความวุ่นวายออกบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตลอดชีวิต เพื่อ จุดหมายปลายทางของชีวิตคือโมกษะ อาศรม 4 จึงเป็นลำดับขั้นแห่งวิถีชีวิต (Stages of Life) เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ บำเพ็ญตนไปสู่ธรรมขั้นสูงสุดในศาสนาพราหมณ์คือโมกษะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตสังคมของ ประชาชนและเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาทางศีลธรรมขั้นสูงต่อไป แต่บุคคลที่จะปฏิบัติ ตามอาศรม 4 ได้ จะต้องอยู่ในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์เท่านั้น ระบบอาศรม 4 ที่พัฒนาขึ้นยุคพราหมณะนี้ นับว่ายังไม่เข้มงวดหรือเคร่งครัดเท่าใดนัก เพราะยุคพราหมณะยังคงเน้นในเรื่องการบูชายัญ มีบุตร และบำเพ็ญทานของพราหมณ์ผู้ นับถือพระเวท ดังนั้นช่วงคฤหัสถ์จึงเป็นช่วงชีวิตที่พราหมณ์ยกย่องและให้ความสำคัญ ทั้งนี้ เพราะพราหมณ์ส่วนใหญ่เป็นคฤหบดีพราหมณ์ ซึ่งยังคงมีบุตรภรรยาและสามารถประกอบ ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, 2527 หน้า 102-109. 34 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More