ข้อความต้นฉบับในหน้า
(Maitreya-natha) เป็นคณาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดนิกายในปลายพุทธศตวรรษที่ 8 และได้
เขียนคัมภีร์ไว้หลายเล่ม เช่น อภิสมยาลังการะ มหายานสูตราลังการะ เป็นต้น แต่บางตำนาน
บอกว่า โยคาจารเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.700 เป็นต้นมา และพัฒนาถึงขีดสูงสุด
ประมาณปี พ.ศ.900 มีพื้นฐานทฤษฎีอยู่บนระบบการตีความเนื้อหาคัมภีร์ที่สำคัญ เช่น
สันธินิรโมจนสูตร และลังกาวตารสูตร เป็นต้น
นิกายโยคาจารเจริญถึงขีดสุดในสมัยของท่านอสังคะ (Asanga) และท่านวสุพันธุ
(Vasubandhu) สองพี่น้องผู้แต่งตำราออกเผยแผ่มากมาย โดยท่านอสังคะพี่ชายเป็นศิษย์คน
สำคัญของท่านไมเตรยนาถเป็นผู้อธิบายปรัชญาโยคาจารอย่างเป็นระบบต่อจากท่านไมเตรยนาถ
ส่วนน้องชายคือวสุพันธุ์แต่เดิมบวชเรียนอยู่ในนิกายสรวาสติวาท หรือไวภาษีกะ มาภายหลัง
จึงหันมานับถือมหายานนิกายโยคาจารตามพี่ชาย
อสังคะเรียกชื่อนิกายฝ่ายตนว่า นิกายโยคาจาร (Yogacara) ส่วนวสุพันธุเรียกว่า
นิกายวิชญาณวาท (Vijananavada) ที่ได้ชื่อว่าโยคาจารนั้นก็เพราะใช้วิธีบำเพ็ญโยคะหรือการ
ฝึกจิตเพื่อบรรลุโพธิ (การรู้แจ้งความจริง) แต่ที่ชื่อว่า วิชญาณวาท ก็เพราะยึดถือจิตตมาตระ
หรือวิชญาปติมาตร (Vijaaptimatra) หมายถึงความไม่มีอะไรนอกจากวิญญาณ (Thought-Only,
or Mind-Only) ว่าเป็นความจริงแท้ขั้นสูงสุด พูดง่ายๆ ว่า ยอมรับเฉพาะจิตหรือวิญญาณเพียง
ประการเดียวว่าเป็นจริง สิ่งต่าง ๆ นอกนั้นเป็นเพียงความคิดหรืออาการกิริยาของจิต ดังนั้น
โยคาจารจึงใช้ปรัชญาไปในทางปฏิบัติ ส่วนวิชญาณวาทใช้ปรัชญาไปในทางเก็งความจริง
นอกจากนี้ โยคาจารยังมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า ธรรมลักษณะ ซึ่งหมายถึงการให้
ความสำคัญที่ลักษณะของธรรม แต่ไม่ว่าจะอย่างไร โยคาจารก็ยังมีหลักการสำคัญอยู่ที่การ
ยอมรับจิตว่าเป็นความจริงเดียวที่มีอยู่ ไม่มีความจริงอื่นนอกจากจิต
นิกายมาธยมิกะกับนิกายโยคาจารต่างเป็นคู่ปรับกันมาทุกยุคทุกสมัยเหมือนอย่าง
ขมิ้นกับปูน ถึงขนาดห้ามสานุศิษย์ไม่ให้คบค้าสมาคมกัน มิให้ร่วมสังฆกรรม ข้อสำคัญที่ขัดแย้ง
กันก็คือเรื่องสวลักษณะหรือสวภาวะ คือลักษณะหรือภาวะของตนเอง นิกายมาธยมิกะถือว่า
โดยสมมติสัจจะแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะในตัวของมันเอง เป็นมายา
ทั้งหมด และโดยปรมัตถสัจจะแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นศูนยตา
ฝ่ายนิกายโยคาจารถือว่า โดยสมมติสัจจะแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะเป็นมายาไป
ทั้งหมดไม่ได้ แม้มองจากภายนอกจะไม่ใช่ของจริง แต่พี่ชะที่มาจากอาลยวิญญาณจนเป็นบ่อเกิด
สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, 2546 หน้า 96
94 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา