ข้อความต้นฉบับในหน้า
คณาจารย์ฝ่ายมหายานทั้งหลายเห็นว่า ลำพังพระธรรมแท้ๆ ยากที่จะทำให้ชาวบ้าน
เข้าถึงได้ จึงคิดแก้ไขให้เหมือนศาสนาฮินดู คือกลับไปยกย่องเรื่องเวทมนตร์ อาคมขลัง พิธีหา
ลาภ พิธีเสกเป่า ลงเลขยันต์ต่าง ๆ จนในที่สุดนิกายพุทธตันตระจึงระคนปนเประหว่างมหายาน
นิกายโยคาจารกับศาสนาฮินดูจนแทบแยกไม่ออก พระสงฆ์เองก็ต้องทำหน้าที่เหมือน
พราหมณ์ทุกอย่าง ลัทธินี้จึงเรียกว่า มนตรยาน” (Mantrayana) หรือตันตรยาน (Tantrayana)
เพราะนับถือพิธีกรรมและการท่องบ่นสาธยายเวทมนตร์อาคมเป็นสำคัญ โดยที่เวทมนตร์
แต่ละบทเรียกว่า ธารณี (Dharani) มีอานิสงส์ความขลังความศักดิ์สิทธิ์พรรณนาไว้วิจิตรลึกล้ำ
นักหนา ธารณีมนต์เหล่านี้มีทั้งประเภทยาวขนาดหน้าสมุด และประเภทสั้นเพียงคำสองคำ
ซึ่งเรียกว่าหัวใจคาถาหรือหัวใจธารณี สามารถทำให้ผู้สาธยายพ้นจากทุกข์ภัยนานาชนิด และ
ให้ได้รับความสุขสวัสดิมงคลและโชคลาภตามความปรารถนา ฉะนั้นเป็นธรรมดาอยู่ ที่ลัทธินี้
จะได้รับการต้อนรับจากพุทธศาสนิกชนผู้ยังเป็นปุถุชนอยู่ ด้วยสามัญปุถุชนย่อมแสวงหาที่พึ่ง
ไว้ป้องกันภัย ศาสนาพราหมณ์อ้างเอาอานุภาพของพระเป็นเจ้าปกป้อง ลัทธิพุทธมนตรยานจึง
แต่งมนตร์อ้างอานุภาพของพระรัตนตรัยและอ้างอานุภาพของพระโพธิสัตว์ตลอดจนอานุภาพ
ของเทพเจ้าทั้งหลายซึ่งนับถือกันว่าเป็นธรรมบาล รวมเอาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เข้าไว้
ด้วยก็มี แล้วสั่งสอนแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชน
นิกายพุทธตันตระมีวิธีสอนแตกต่างจากมหายานยุคต้นๆ อย่างชัดเจน มหายานสอน
หลักธรรมในพระสูตรและศาสตร์ต่าง ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถหาอ่านได้ และเป็นหนังสือที่คนทั่วไป
พอจะทำความเข้าใจได้ แต่ตรงกันข้าม คัมภีร์เล่มใหม่อันยืดยาวของนิกายตันตระสงวนไว้สำหรับ
บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกแล้วเพียงไม่กี่คน และบุคคลเหล่านั้นจะต้องได้รับการสอนจากครู
โดยตรง นอกจากนั้นคัมภีร์ยังเขียนไว้ด้วยภาษาที่ลึกลับ เข้าใจยาก และคลุมเครือชวนให้สงสัย
อีกด้วย ทั้งไม่ยอมอ้างว่าคัมภีร์เหล่านั้นเป็นคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า แต่กลับบอกว่า
เป็นของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ซึ่งกล่าวกันว่าพระองค์ได้ทรงสอนคัมภีร์เหล่านั้นตั้งแต่อดีตกาล
อันไกลโพ้น แม้ว่าจุดมุ่งหมายของนิกายตันตระยังเป็นพุทธภาวะเช่นเดียวกับนิกายมหายาน
แต่มิใช่เป็นสิ่งที่จะได้บรรลุในอนาคตอันไกลแสนไกลนานแสนนานอย่างแต่ก่อน หากแต่
พุทธภาวะนั้นมีอยู่ในร่างกายของเรานี่เอง และในชั่วขณะจิตตุปบาทที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้เอง ซึ่งเรา
บรรลุได้ด้วยวิธีการที่ใหม่เอี่ยม รวดเร็วทันใจและง่าย ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
1 ลัทธินี้มีชื่อเรียกหลายอย่าง เรียกว่า พุทธมันตระบ้าง โยคตันตระบ้าง แล้วต่อมาก็มีอนุตรโยคตันตระ
และลัทธิกาลจักระ
พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 97