ข้อความต้นฉบับในหน้า
อดรนทนไม่ไหวได้ทิ้งวัดวาอารามไปจนหมด แต่มีสามเณรเหลืออยู่บ้างโดยมีสามเณรสรณังกร
เป็นหัวหน้าคณะ
ในปี พ.ศ.2294 สามเณรสรณังกรทูลขอให้ พระเจ้ากิรติศรีราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาใน
ขณะนั้น ส่งทูตมานิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทยไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา สมัยนั้นตรงกับรัชสมัย
ของพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงส่งพระสมณทูตไทยไปจำนวน 10 รูป มี
พระอุบาลีเป็นหัวหน้า ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึง 3,000 คน ณ เมืองแคนดี
สามเณรสรณังกรซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช
ตั้งแต่นั้นมาจึงเกิดนิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้น ต่อมาพระอุบาลีเถระเกิดอาพาธและได้
มรณภาพในลังกานั่นเอง
ในสมัยเดียวกันนี้ มีสามเณรลังกาคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศ
พม่า แล้วกลับมาตั้งนิกายอมรปุรนิกายขึ้น อีกคณะหนึ่งเดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์
มอญแล้วกลับมาตั้งนิกายรามัญนิกายขึ้น ในสมัยนั้นจึงมีนิกายเกิดขึ้น 3 นิกาย คือ นิกาย
สยามวงศ์ นิกายอมรปุรนิกาย และนิกายรามัญ ซึ่งยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.2345 อังกฤษเข้าครองอำนาจแทนฮอลันดา ได้ทำสนธิสัญญากับกษัตริย์
ลังกาเพื่อรับประกันสิทธิของฝ่ายลังกาและเพื่อคุ้มครองพระศาสนา ครั้นต่อมาเกิดกบฏขึ้นเมื่อ
อังกฤษปราบกบฏได้สำเร็จจึงดัดแปลงสนธิสัญญาเสียใหม่ ทำให้ระบบกษัตริย์ลังกาสูญสิ้นตั้งแต่
บัดนั้น
ในช่วงแรกของการปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ พระพุทธศาสนาได้รับความเป็น
อิสระ มากขึ้น ด้วยสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ภายหลังถูกกีดกันและต่อต้านจากศาสนาคริสต์อีก
รัฐบาลถูกบีบให้ยกเลิกสัญญาที่คุ้มครองพระพุทธศาสนา องค์การคริสต์เตียนผูกขาดการ
ศึกษาทั่วประเทศ โรงเรียนชาวพุทธเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวคือ ทีท โดดันวา นอกจากนี้
บาทหลวงยังโจมตีคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง แต่ไม่มีใครสามารถ
แก้ไขสถานการณ์ได้ จนกระทั่งท่านคุณานันทเถระได้ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2366 ต่อมาได้
ออกบวชและศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ท่านได้อาสาเป็นทนายแก้ต่างให้พระศาสนา
ด้วยการโต้วาทะกับนักบวชที่มาจาบจ้วงศาสนาพุทธจนได้รับชัยชนะ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้
รุ่งเรืองอีกครั้ง'
1 กองวิชาการสถาบันพัฒนาบุคลากร, คุณานันทเถระผู้กอบกู้พระพุทธศาสนาในศรีลังกา, 2548 หน้า 91-99
120 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า