ข้อความต้นฉบับในหน้า
ของภาพเหล่านั้นมีสวลักษณะอยู่ด้วย และโดยปรมัตถสัจจะก็ไม่ได้สูญเสียไปทั้งหมด ยกตัวอย่าง
ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสวลักษณะอยู่ภายในตัวของมันเองแล้ว คนเราทำความชั่ววันนี้ พรุ่งนี้ก็
ไม่ต้องรับความชั่วที่ตัวเองได้กระทำไว้ ถ้าไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะอยู่แล้วใครเล่าจะเป็นคน
คอยรับบุญรับบาป นายปอทำความชั่ววันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นคนละคนไปแล้วไม่ต้องรับความ
ชั่วที่ตัวก่อไว้ เหมือนกับปลูกมะละกอ ถ้าไม่มีสวลักษณะอยู่จริงก็กลายเป็นมะม่วงมะพร้าวไป
สรุปแล้วนิกายทั้ง 2 ตีความหมายให้คำนิยามสวลักษณะแตกต่างกัน และดูเหมือนจะ
แย้งกันแบบสุดโต่ง ทั้งที่จริงแล้วจุดประสงค์ของทั้ง 2 นิกายเหมือนกัน คือ เพื่อความหลุดพ้น
แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันเป็นเพียงแนวทางการนำเสนอเท่านั้น โดยโยคาจารถือว่ามีจิต
อยู่จริงและเป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียว สวลักษณะนั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถึงจะเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ยังรักษาคุณสมบัติเดิมเอาไว้ได้ ดังนั้นจึงต้องพยายามทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความ
ยุ่งยากซับซ้อนในโลก โดยหันมาดูที่กระแสจิตของตนและบังคับควบคุม
ส่วนมาธยมิกะถือว่าโดยที่สุดแล้วไม่มีอะไรอยู่เลย จึงยืนยันว่า ขึ้นชื่อว่าสวลักษณะ
แล้วจะต้องเที่ยงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทั้งยังเสนอว่า ต้องพยายามทำตัวเองให้หลุดพ้นโดยไม่
ยึดถืออะไรเลย และจุดเน้นของมาธยมิกะไม่ได้เพียงว่าไม่ยึดถืออะไรเลยเท่านั้น แต่ก้าวไปไกล
ถึงขนาดกล่าวว่า “โดยที่สุดแล้ว ความว่างก็ไม่มี (Emptiness of Emptiness)” ฝ่ายมาธยมิกะ
จึงประณามพวกโยคาจารว่าเป็นพวกสัสสตวาท (ความมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร) ฝ่ายโยคาจาร
ก็ประณามพวกมาธยมิกะว่าเป็นพวกนัตถิกวาท (ความไม่มีอะไรอยู่เลย ไม่มีสภาวะที่จะ
กำหนดเป็นสาระได้) ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันว่า เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิทำลายพระพุทธศาสนา
ทำให้เกิดความขัดแย้งจนหาจุดจบไม่ได้ ทั้งสองนิกายนี้ ก็เลยเข้าข่ายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปทั้งคู่
ตามหลักคำสอนฝ่ายเถรวาท
อันที่จริง โยคาจารเห็นด้วยกับมาธยมิกะเฉพาะเรื่องความไม่มีอยู่จริงของวัตถุหรือ
อารมณ์ภายนอก แต่เรื่องที่เห็นว่าจิตไม่มีจริงหรือไม่มีอยู่จริงนั้น โยคาจารไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เพราะถือว่าทรรศนะของมาธยมิกะที่ปฏิเสธว่าสูญทั้งหมดเท่ากับเป็นความเห็นผิดอย่าง
ไม่น่าให้อภัย เพราะโยคาจารเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดเราต้องยอมรับว่าจิตเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ทั้งนี้
เพื่อให้ความคิดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จิตซึ่งประกอบด้วยกระแสแห่งความคิดชนิดต่าง ๆ
(เจตสิก) เป็นสิ่งแท้จริงเพียงประการเดียว ดังนั้นหากจะกล่าวไปแล้ว ก็คงถือได้ว่านิกายโยคาจาร
จัดว่าเป็นปรัชญาคำสอนฝ่ายอภิธรรมของมหายานที่ดูจะใกล้เคียงกับหลักคำสอนในการ
- ประยงค์ แสนบุราณ, พระพุทธศาสนามหายาน,, 2549 หน้า 76-77
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น อินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 95