ตำนานและประวัติของเจดีย์ชเวดากองและอาณาจักรพุกาม GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 173
หน้าที่ 173 / 249

สรุปเนื้อหา

ตำนานเจดีย์ชเวดากองเผยถึงการสร้างเมื่อ 2,500 ปีก่อน โดยชาวพม่าได้ร่วมมือกันสร้างสูงถึง 326 ฟุต โดยมีทองคำและเพชรมากมาย เจดีย์นี้นับเป็นมรดกโลกจาก UNESCO และมีประวัติการแย่งชิงศาสนาที่น่าสนใจ รวมถึงการป้องกันจากการโจมตีโดยมองโกลในปี พ.ศ. 1799-1830 และการที่ชาวพม่ายังคงรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างดี

หัวข้อประเด็น

- เจดีย์ชเวดากอง
- อาณาจักรพุกาม
- พระพุทธศาสนา
- การก่อสร้างเจดีย์
- มรดกโลกจาก UNESCO

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตำนานกล่าวว่าสร้างเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วโดยพ่อค้าทั้งสอง แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้าง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง 10 แรกเริ่มสร้างมีความสูงเพียง 27 ฟุต แต่ด้วยแรงศรัทธา ของชาวพม่าได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สิน เงินทอง แล้วก่อสร้างเสริมองค์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันมีความสูงถึง 326 ฟุต กว้าง 1,355 ฟุต ทองคำที่โอบหุ้มเจดีย์ ชเวดากองอยู่ มีน้ำหนักถึง 1,100 กิโลกรัม ช่างพม่าจะใช้ทองคำแท้ๆ นำมาตีเป็นแผ่นเรียง ปิดองค์เจดีย์ไว้บนยอดของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ 5,448 เม็ด โดยเฉพาะยอดสุดมีเพชรเม็ดใหญ่ อยู่ 72 กระรัต และทับทิม 2,317 เม็ด นอกจากเจดีย์ชเวดากองแล้ว ในอาณาจักรพุกามมีการสร้างเจดีย์อีกมากมาย เพราะ ชาวพุกามเชื่อว่า การสร้างเจดีย์จะได้อานิสงส์สูงสุด ตลอดที่ราบริมฝั่งอิรวดีพื้นที่กว้างไกลสุด สายตา ล้วนประดับประดาไปด้วยเจดีย์มากมาย กล่าวกันว่ามีถึง 4,000 องค์ทีเดียว เมือง พุกามจึงได้ชื่อว่า ทะเลเจดีย์ ด้วยเหตุนี้พุกามจึงได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก (World Heritage) จาก UNESCO แต่ทุกวันนี้เหลือเจดีย์อยู่เพียง 2,000 กว่าองค์เท่านั้น ส่วนมากเป็นเจดีย์ร้าง แต่ด้วยแรงศรัทธาและความเกรงกลัวบาปที่ฝังลึกในจิตใจของชาวพม่า เจดีย์จึงยังยืนหยัดอยู่ ได้โดยไม่ถูกทำลาย พระพุทธรูปยังคงประดิษฐานงดงามอยู่ทุกซุ้มเจดีย์ แม้แต่อุณาโลมเพชร ทับทิม หรือมรกต ก็ยังไม่มีชาวพม่าคนใดกล้าลักขโมย หลังจากสมัยพระเจ้าอโนรธาแล้ว พระพุทธศาสนาก็ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ เรื่อยมา จนกระทั่งสมัยพระเจ้านรปฏิสิทธิ์ทรงส่งสมณทูตไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ลังกา ในปี พ.ศ.1733 โดยมีพระอุตราชีวะเป็นประธาน ครั้งนั้นมีเด็กชาวมอญคนหนึ่งชื่อ ฉะบัฏ ได้บวช เป็นสามเณรติดตามไปยังลังกาด้วย และได้อุปสมบทในลัทธิลังกาวงศ์ ภายหลังเดินทางกลับ พม่าพร้อมกับพระภิกษุอีก 4 รูป ได้ตั้งนิกายใหม่ในพม่าคือนิกายสิงหล พระภิกษุนิกายนี้ ไม่ยอมรับว่า พระนิกายเดิมคือ มะระแหม่ง ได้รับการอุปสมบทอย่างถูกต้อง จึงเกิดการขัดแย้ง กันเป็นเวลานานถึง 3 ศตวรรษและในที่สุดนิกายสิงหลก็เป็นฝ่ายชนะ อาณาจักรพุกามเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งรัชสมัยของพระเจ้านรสีหปติ ในปี พ.ศ.1799-1830 กองทัพมองโกลบุกเข้าตีพุกามจนแตก ผลของสงครามทำให้พุกาม อ่อนแอลงมาก มะกะโท จึงประกาศเอกราชปลดแอกอาณาจักรมอญ หลังจากเป็นเมืองขึ้นของ * ทองคำส่วนหนึ่ง พม่าเผาลอกจากพระพุทธรูปในกรุงศรีอยุธยา สมัยทำสงครามกับไทยใน พ.ศ.2310. 2 วิกิพีเดีย. (2549).เจดีย์ชเวดากอง (ออนไลน์) 3 มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว ราชบุตรเขยของ “พ่อขุนรามคำแหง” 164 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More