ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 3
สังคมอินเดียสมัยพุทธกาล
3.1 สภาพเศรษฐกิจและการปกครอง
การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาได้อย่างลึกซึ้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ
ต้องศึกษาสิ่งแวดล้อมในถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนาเสียก่อน ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมมีความ
สำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดท่าที บทบาท ลักษณะ รูปแบบ ขององค์กรพระพุทธศาสนา
จะทำให้เราทราบที่มาที่ไปว่า เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่เรียงร้อยกันเป็นประวัติศาสตร์
พระพุทธศาสนานั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่จะต้องศึกษานอกจากพื้นฐาน
ความเชื่อในสังคมอินเดียแล้ว ในที่นี้จะกล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองในสมัย
พุทธกาลด้วย เพราะสิ่งแวดล้อมทั้งสองนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนโดยตรง ซึ่งต้องคำนึงถึง
อยู่ทุกวัน
3.1.1 การเมืองการปกครอง
ประเทศอินเดียในยุคพุทธกาลสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางหรือ
เขตชั้นใน เรียกว่า “มัชฌิมประเทศ” และส่วนรอบนอกหรือหัวเมืองชายแดน เรียกว่า “ปัจจันต
ประเทศ” มัชฌิมประเทศเป็นเขตที่มีประชาชนอาศัยอยู่มาก มีความเจริญ เป็นศูนย์กลาง
ธุรกิจการค้าและการศึกษา มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตมาก แบ่งการปกครองออกเป็น 16 แคว้น
ใหญ่ๆ ดังที่ปรากฏในอุโปสถสูตร ฉบับบาลี คือ “อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจดี วังสะ
กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ” และมีแคว้นเล็กอีก 5 แคว้น
รวมเป็น 21 แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ
รูปแบบการปกครองของแต่ละแคว้นแตกต่างกันอยู่บ้าง วิรัช ถิรพันธุ์เมธี ได้แบ่งรูป
แบบการปกครองในสมัยพุทธกาลไว้ 3 รูปแบบ คือ
1) แบบจักรวรรดินิยม คือแคว้นที่มีแสนยานุภาพมาก มีอำนาจเหนือแคว้นอื่น ใช้
อำนาจยึดครองแคว้นอื่นมาเป็นเมืองขึ้นของตนประมุขของแคว้นแบบนี้เรียกว่า “มหาราชา” เช่น
* อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เล่ม 21 ข้อ 510 หน้า 273
* วิรัช ถิรพันธุ์เมธี. (ม.ป.ป.), พุทธปรัชญาการปกครอง หน้า 8
สังคม อินเดีย ส มั ย พุ ท ธ ก า ล DOU 45