ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากกรุงเทวทหะ
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ครบทศมาส ทรงขอลาพระสวามีเพื่อกลับ
ไปมีพระประสูติกาลที่กรุงเทวทหะเมืองประสูติของพระองค์ตามธรรมเนียมในครั้งนั้น ครั้น
เดินทางมาได้ครึ่งทางถึงสวนสาธารณะใหญ่ชื่อ “ลุมพินี” พระนางเกิดประชวรพระครรภ์และ
ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นรังใหญ่ ในวันเพ็ญเดือน 6 เวลาใกล้เที่ยง ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
หลังจากประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนราชาเชิญพราหมณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญใน
ไตรเวท จำนวน 108 ท่าน มาฉันโภชนาหาร และให้เลือกเหลือเพียง 8 ท่านเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ
ในวิชาลักษณะพยากรณ์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาทำนายลักษณ์ของพระโอรสและขนานพระนาม
พราหมณ์ทั้ง 8 ท่านที่ได้รับเลือก คือ รามพราหมณ์ ลักษณพราหมณ์ ยัญญพราหมณ์ ธุชพราหมณ์
โภชพราหมณ์ สุทัตตพราหมณ์ สุยามพราหมณ์ และโกญฑัญญพราหมณ์ พราหมณ์ 7 ท่านแรก
เห็นลักษณะของพระโอรสแล้วได้ทำนายเป็น 2 นัย คือ ถ้าพระโอรสอยู่เรือนจะได้เป็นพระ
จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ หากออกผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลก ส่วน
โกญฑัญญพราหมณ์ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในพราหมณ์ 8 ท่านนั้น ทำนายชี้ชัดลงไปว่า พระโอรสนี้
จะออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน จากนั้นพราหมณ์ทั้งหมดก็มี
ความเห็นตรงกันที่จะขนานพระนามพระโอรสว่า “สิทธัตถะ” หรือ “สิทธารถ” ซึ่งแปลว่า สำเร็จ
ดังปรารถนา
หลังจากวันขนานพระนาม 2 วัน เมื่อพระโอรสมีพระชนมายุได้ 7 วัน พระนางสิริ
มหามายาก็สิ้นพระชนม์ เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในการเลี้ยงดูของพระนางมหาปชาบดี ซึ่งเป็น
พระน้านางของพระองค์และเป็นมเหสีองค์ที่ 2 ของพระเจ้าสุทโธทนะ เจ้าชายสิทธัตถะมีพระ
อนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระชนกที่ประสูติจากพระนางมหาปชาบดี 2 พระองค์คือ พระนันทะ
และพระนางรูปนันทา และยังมีลูกพี่ลูกน้องในศากยวงศ์รุ่นราวคราวเดียวกันอีกหลายพระองค์
คือ เจ้ามหานามะ เจ้าอนุรุทธะ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอาสุกโกทนะ เจ้าอานนท์ โอรสของ
พระเจ้าอมิโตทนะ และเจ้าเทวทัต โอรสของอาหญิงอมิตาศากยะ กุมารที่มีอายุมากกว่า
เจ้าชายสิทธัตถะมีเพียงองค์เดียว คือ เจ้ามหานามะ
ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ 7 พรรษา ก็ได้รับการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์
จากพราหมณ์ในราชสำนักจนจบสิ้นวิชาการ พระชนกเห็นว่ากุมารฉลาดปราดเปรื่องจึงส่งไป
ศึกษาต่อยังสำนักของอาจารย์วิศวามิตร ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นปราชญ์ที่ไม่มีใครทัดเทียมในสมัยนั้น
เจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาวิชาพระเวท เวทางคศาสตร์ จิตศาสตร์ และคัมภีร์อุปนิษัท จนแตกฉาน
เชี่ยวชาญในวิชาต่างๆ อย่างรวดเร็วกระทั่งสิ้นความรู้ของอาจารย์ มีความรู้พรั่งพร้อมที่จะได้
รับตำแหน่งเป็นราชาและเป็นจักรพรรดิปกครองชมพูทวีปในอนาคต
54 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า