ข้อความต้นฉบับในหน้า
(Buddhist Catechism) พิมพ์เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2424 แต่คนยังไม่ได้ให้
ความสนใจเท่าใดนัก จนกระทั่งปี พ.ศ.2436 ท่านอนาคาริก ธัมมปาละ ชาวศรีลังกาเดินทาง
ไปประชุมสภาศาสนา (Parliament of Religions) และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ นครชิคาโก
จึงเริ่มมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนและชาวญี่ปุ่น ในครั้งนั้น
มีชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ ซี.ที.เอส.สเตราส์ (C.T.S.Strauss) ได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
โดยรับไตรสรณคมน์และศีล 5 จากท่านอนาคาริกธรรมปาละ กล่าวได้ว่า ซี.ที.เอส.สเตราส์
เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะในนครนิวยอร์ก นอกจากนี้ท่านอนาคาริก
ธัมมปาละ ยังได้ผู้อุปถัมภ์งานพระพุทธศาสนาคนสำคัญคือ นางแมรี่ มิกาฮาลา ฟอสเตอร์ (mary
Mikahala Foster) สุภาพสตรีชาวอเมริกันผู้มั่งคั่ง
ในปี พ.ศ.2434 มีการจัดตั้งชมรมวรรณกรรมตะวันออกมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดขึ้น
และในปีเดียวกันนี้เอง ทางชมรมได้พิมพ์หนังสือเล่มแรกขึ้นเผยแพร่คือ หนังสือชาดกมาลา อัน
เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากนั้นก็มีการจัดพิมพ์คัมภีร์พระพุทธ
ศาสนาออกเผยแพร่อีกจำนวนมาก เช่น Buddhism Legends ซึ่งเป็นหนังสือคำแปลอรรถกถา
ธรรมบท หนังสือ The Buddha's Teachings และหนังสือ Being The Sutta Nipata or Discourse-
Collection และคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ศาสตราจารย์แลนแมน
บรรณาธิการคนแรกของชมรมได้อธิบายไว้ว่า ชมรมนี้ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอ
บทเรียนทั้งหลายอันหาที่เปรียบเทียบมิได้แก่ชาวตะวันตก บทเรียนเหล่านี้ศาสดาทั้งหลาย
ผู้อัจฉริยะสามารถสอนพวกเราได้ บทเรียนทั้งหลายว่าด้วยความหวังดีแก่กันและกันระหว่าง
บุคคลต่อบุคคล ระหว่างชาติต่อชาติ ฝึกฝนจิตโดยการเอาชนะเจตจำนงชั่วร้าย ความวิตกกังวล
ความเร่งร้อนในการงาน ลดความปรารถนาทั้งหลายของเราลงระดับความเหมาะสมกับตัวเรา
การดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย และเหนืออื่นใดก็คือ การแสวงหาพระเจ้า การรู้แจ้งซึ่งสัจธรรม
ไม่ว่าจะโดยตรรกยกรณ์ (Resoning) หรือโดยศรัทธา....
พระพุทธศาสนานิกายรินไซเซนจากประเทศญี่ปุ่นเผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรก
ในปี พ.ศ.2436 โดยโซเยน ซากุ (Soyen Shaku) ซึ่งได้รับนิมนต์จากจอห์น เฮนรี่ บาร์โร (John
Henry Barrows) ให้มาร่วมสัมมนาที่สภาแห่งศาสนาโลก (World Parliament of Religions) ใน
นครชิคาโก ซึ่งเป็นการมาประชุมครั้งเดียวกันกับที่ท่านอนาคาริก ธรรมปาละเข้าร่วมในครั้งนั้น
โซเยน ซากุ ได้กล่าวถึงเรื่องกฎแห่งกรรม การไม่ใช้ความรุนแรง และความปรองดองต่อ
1 พันเอก (พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์, เมธีตะวันตกชาวพุทธเล่ม 2, หน้า 180
212 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า