ข้อความต้นฉบับในหน้า
ชาวพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้
สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่น ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เป็นต้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดน
พม่าเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่
ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
พระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพม่าในราวพุทธศตวรรษที่ 6 ต่อมามีพระสงฆ์
ฝ่ายมหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุได้นำลัทธิตันตระไปเผยแผ่ จนพระพุทธศาสนา
ทั้งสองนิกายเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลาหลายร้อยปี และรุ่งเรืองมากในพุทธศตวรรษที่ 11
ชาวพม่าเป็นชนเผ่าอพยพมาจากทางตอนเหนือทีละน้อย ได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้
เข้ารุกรานพวกมอญ มอญจึงต้องถอยไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่หงสาวดี ในปี พ.ศ.1368 พม่า
ได้ตั้งอาณาจักรขึ้น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกาม (Pagan) ในปี พ.ศ. 1392 ซึ่งเป็นช่วงที่
อาณาจักรพยูเสื่อมสลายแล้ว อาณาจักรพุกามแต่แรกนั้นมิได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่ง
ในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587-1620) พระองค์สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ
ในปี พ.ศ.1600 พระเจ้าอโนรธายกทัพตีเมืองสะเทิมของมอญ นำเอาพระไตรปิฎก
และประเพณีพระพุทธศาสนามา ทรงทำให้นิกายเถรวาทแพร่หลายด้วยความช่วยเหลือจาก
พระภิกษุมอญชื่อ ชินอรหันต์ ทรงสร้างเจดีย์ที่สำคัญหลายแห่งโดยเฉพาะมหาเจดีย์ชเวดากอง
โดยสร้างเสริมเจดีย์องค์เดิม ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อมายาวนานว่า พระเจ้าแผ่นดินทุก
พระองค์จะต้องทรงทำนุบำรุงพระเจดีย์ ในสมัยพระนางถิ่นซอสู้ทรงพระราชทานทองคำเท่า
น้ำหนักพระองค์เองคือ 40 กิโลกรัม เพื่อนำไปตีแผ่หุ้มพระเจดีย์ สมัยพระเจ้าธรรมเซดีก็ทรง
บริจาคทองคำหนักเป็นสี่เท่าของน้ำหนักพระองค์เอง ในสมัยพระเจ้ามินดงทรงส่งฉัตรฝังเพชร
อันใหม่มาถวายเป็นพุทธบูชา ตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นธรรมเนียมมาถึงปัจจุบันที่กษัตริย์ทุก
พระองค์จะต้องพระราชทานทองคำเท่าน้ำหนักพระองค์เองไปตีเป็นแผ่นหุ้มองค์พระมหาเจดีย์
เจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda) เป็นภาษาพม่า ชเว แปลว่า ทอง ดากอง แปล
ว่า เมืองตะเกิง ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง เจดีย์ชเวดากอง จึงแปลว่า พระเจดีย์ทองเมือง
ตะเกิง ซึ่งเป็นมหาเจดีย์ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง
1 คมชัดลึก (2549) ท่องไปในแดนธรรม : ความงดงามแห่งวิถีพุทธที่ชเวดากอง (ออนไลน์)
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย
DOU 163