ข้อความต้นฉบับในหน้า
โมคคัลลานะและพระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นอุปติสสะและโกลิตมานพก็เคยศึกษาอยู่กับท่าน
ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิของพวกปริพาชก ตั้งสำนักเผยแพร่อยู่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชาวมคธ
เป็นจำนวนมากต่างนับถือในเจ้าลัทธินี้ แต่เมื่ออุปติสสะและโกลิตมานพพร้อมบริวารจำนวน
มากออกจากสำนักไปขอบวชกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัญชัยเวลัฏฐบุตรจึงกระอักเลือดจนถึง
แก่มรณกรรม
ลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตรจัดอยู่ในประเภท “อมราวิกเขปวาทะ” คือ เป็นลัทธิที่
หลบเลี่ยงไม่แน่นอน ดังที่สัญชัยเวลัฏฐบุตรกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า
ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูล
ตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่
มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือ
ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่
อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายเกิดอีกหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดอีก ก็จะพึงทูลตอบว่าเกิดอีก ความเห็น
ของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่...!
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงดำริว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้ สัญชัยเวลัฏฐบุตรนี้
โง่กว่าเขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด เพราะแนวคำสอนกลับกลอก เอาแน่นอนไม่ได้
ไม่สามารถบัญญัติอะไรตายตัวได้ เพราะกลัวผิดบ้าง ไม่รู้บ้าง พูดชัดส่ายเหมือนปลาไหล
ในกรตั้งคสูตร กล่าวประณามว่า เป็นลัทธิคนตาบอด ไม่สามารถนำตนและผู้อื่นให้เข้าถึงความ
จริงได้ มีปัญญาทราม โง่เขลาไม่กล้าตัดสินใจใด ๆ ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่รู้จริงอย่างถ่องแท้
3.2.6 นิครนถนาฏบุตร
นิครนถนาฏบุตร หรือศาสดามหาวีระ เกิดที่กุณฑคาม เมืองไวสาลี แคว้นวัชชีของ
พวกเจ้าลิจฉวี มหาวีระเป็นศิษย์ของท่านปาร์ควา ซึ่งเป็นศาสดาองค์ที่ 23 ในศาสนาเชนผู้
มีอายุห่างจากท่านมหาวีระถึง 250 ปี ท่านมหาวีระเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ได้สั่งสอนอยู่ 30 ปี
จึงมรณภาพ ภายหลังเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สาวกของนิครนถนาฏบุตรจำนวนมาก
ได้เปลี่ยนมาเป็นพุทธสาวก
1 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม 53 หน้า 180-181
2 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม 11 หน้า 99-303
* พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2550), ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. (ออนไลน์)
52 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า