การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและกัมพูชา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 165
หน้าที่ 165 / 249

สรุปเนื้อหา

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาเพื่อการศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนาคือวิชาภาคบังคับในระดับมัธยม ส่วนในกัมพูชา พระพุทธศาสนามีอยู่มาอย่างยาวนาน ผ่านการเผยแพร่ที่มีประสิทธิภาพด้วยวรรณกรรมต่างๆ ที่เข้าถึงประชาชน อนึ่ง พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย พร้อมด้วยการส่งเสริมในระดับรัฐบาลที่จัดตั้งรัฐพิธีต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลองวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ซึ่งมีหลักฐานยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาและพระพุทธศาสนา
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
-ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในกัมพูชา
-พิธีกรรมและรัฐพิธีในพระพุทธศาสนา
-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในปี พ.ศ.2514 ต่อมาปี พ.ศ. 2501 มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนา วัดอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่ เด็กและเยาวชน ต่อมาได้ขยายไปทั่วประเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้วิชาพระพุทธ ศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 1-6 ในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น ณ ประเทศไทย (พ.ส.ล.) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ปัจจุบันมีการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมมากขึ้น เพราะเข้าถึงประชาชนได้ง่ายและรวดเร็ว หาก ผู้แต่งเขียนได้ดีจะได้รับความนิยมจากผู้อ่านไม่แพ้นวนิยาย เช่น หนังสือ “เสียดายคนตายไม่ ได้อ่าน” เป็นต้น ซึ่งจัดพิมพ์ 30 กว่าครั้งแล้ว ขายดีมากเข้าถึงผู้อ่านกว่าแสนคน ในด้านพิธีกรรมมีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า “รัฐพิธี” โดยให้กระทรวงต่างๆ เป็นผู้จัด มีการจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวัน วิสาขบูชาของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อครั้งฉลอง 25 พุทธศตวรรษ 2. ประเทศกัมพูชา กัมพูชา (Cambodia) หรือเขมรมีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีเมืองหลวงชื่อพนมเปญ และเป็น เมืองที่ใหญ่ที่สุด เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบร้อยปี ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการใน ปี พ.ศ. 2496 กัมพูชามีประชากรประมาณ 14,071,000 คน (พ.ศ.2548) ประชากร 93% นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ส่วนอีก 7% นับถือภูตผีและอื่นๆ กัมพูชาเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมายาวนานกว่า 2,000 ปี หลักฐานหลายแหล่งยืนยันตรงกันว่า พระพุทธศาสนาตั้งอยู่ในดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 3 เช่น หลักฐานจากศิลาจารึกที่ค้นพบ ณ เมืองโวกัญ อันเป็นศิลาจารึกที่เก่าแก่ ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในอดีตกัมพูชาคือดินแดนส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ อันเป็นถิ่น ที่พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่บัดนั้นพระพุทธ พระรวี ธมฺมจิโต, ผลกระทบต่อสงครามกลางเมืองต่อพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ระหว่างปี พ.ศ.2513-2534, 2549 หน้า 1-2 156 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More