ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วได้เสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง 3 หลัง เพื่อสอนพระบาลีแก่ภิกษุสามเณร
ทุกวัน มีภิกษุสามเณรไปเรียนกันจำนวนมาก ในสมัยของพระองค์มีการส่งพระภิกษุไปเรียนที่
ลังกาด้วย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2199-2231 พระองค์
ทรงเอาพระทัยใส่กิจทางศาสนา เสด็จทรงบาตรทุกวัน ในสมัยนั้นชาติตะวันตกเข้ามาล่า
อาณานิคมในแถบเอเชีย ประเทศต่างๆ ตกเป็นเมืองขึ้นโดยมาก แต่ไทยรอดพ้นมาได้ทั้งด้าน
อาณาจักรและศาสนจักรด้วยพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ในแต่ละสมัย ครั้งหนึ่งพระเจ้า
หลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ส่งพระราชสาส์นมาถึงพระนารายณ์มหาราช มีใจความว่า พระเจ้า
กรุงฝรั่งเศสขอชักชวนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้มาร่วมแผ่นดินเดียวกัน โดยขอให้พระองค์
เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาเดียวกับฝรั่งเศส...
พระนารายณ์มหาราชทรงขอบพระทัยพระเจ้าฝรั่งเศสหนักหนาที่มีความสนิทเสน่หา
ในพระองค์ แต่ทรงประหลาดใจว่า เหตุใดพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงมาก้าวก่ายกับฤทธิ์อำนาจของ
พระผู้เป็นเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
หรอกหรือ พระองค์จึงปล่อยให้มีไปดั่งนั้น มิได้บันดาลให้มีเพียงศาสนาเดียว เมื่อพระผู้เป็นเจ้า
มีฤทธิ์มากในเวลานี้ พระองค์คงปรารถนาให้ตัวเรานับถือพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้นเรา
จึงจะรอคอยพระกรุณาของพระองค์ บันดาลให้เราเลื่อมใสในคริสต์ศาสนาในวันใด เราก็จะ
เข้ารีตในวันนั้น จึงขอฝากชะตากรรมของเราและกรุงศรีอยุธยาสุดแต่พระเจ้าจะบันดาลเถิด
พระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้มีพระราชโองการประกาศว่าให้คนไทยนับถือศาสนา
ได้ตามชอบใจ แล้วพระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์คริสตังใหม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ทูตฝรั่งเศสผิดหวัง
มากเกินไป มีคนไทยบางส่วนหันมานับถือคริสต์ศาสนาแต่ก็เพียงน้อยนิด แม้ผ่านมา 300 กว่า
ปีจนถึงปัจจุบัน คริสต์ศาสนิกชนในไทยมีเพียง 2% เท่านั้น กุศโลบายของพระนารายณ์
มหาราชนี้เป็นการเสียน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่เอาไว้ แต่ถ้าพระองค์ทรงเปลี่ยนศาสนาเสียแล้ว
เป็นไปได้ว่าในยุคนั้นและยุคต่อมาชาวไทยโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาตาม
พระองค์ ปัจจุบันชาวพุทธอาจจะเป็นชนกลุ่มน้อยในท่ามกลางคริสต์ศาสนิกชนก็เป็นไปได้
สมัยกรุงธนบุรี หลักจากที่กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่าในปี พ.ศ.2310
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนา
กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ ทรงสนับสนุนปัจจัย 4 แก่พระภิกษุสามเณรที่ตั้งใจเล่าเรียน
* เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม 2, 2519 หน้า 180.
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย
DOU 151