ปราชญ์ชาวพุทธฝรั่งเศสและการเผยแผ่พุทธศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 213
หน้าที่ 213 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับปราชญ์ชาวพุทธฝรั่งเศส อาทิ ซิลเวียน เลวี และ หลุยส์ เดอ ลา วัลลี ปุสซิน ที่ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน ส่งผลให้ความสนใจในพุทธศาสนาเติบโตขึ้นในฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของติช นัท ฮันห์ พระภิกษูนิกายเซนชาวเวียดนาม ที่มีผลกระทบต่อการเผยแพร่แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Engaged Buddhism) และการสร้างหมู่บ้านพลัมเพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติธรรมแบบเข้าถึงง่ายในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-ซิลเวียน เลวี
-หลุยส์ เดอ ลา วัลลี ปุสซิน
-ติช นัท ฮันห์
-พระพุทธศาสนาในฝรั่งเศส
-Engaged Buddhism

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นอกจากนี้ยังมีปราชญ์ชาวพุทธฝรั่งเศสอีกหลายท่านที่อุทิศตนในงานพระพุทธศาสนา เช่น ซิล เวียน เลวี (Sylvain Lavi) กล่าวได้ว่า ในอาณาจักรการศึกษาพระพุทธศาสนามหายานนั้น เขาไม่เป็นสองรองใคร มีความรู้ลึกซึ้งในภาษาจีน ทิเบต และภาษา Kuchean ซิลเวียน เลวี ได้ จัดทำคัมภีร์พระพุทธศาสนาไว้หลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์ธรรมบท และคัมภีร์ษฏปัญจาสติกะ สโตตระ (พ.ศ.2355) หนังสือ Le Nepal (พ.ศ.2450) เป็นต้น หลุยส์ เดอ ลา วัลลี ปุสซิน (Louis De La Vallee Poussin) ศิษย์ของซิลเวียน เลวี เป็นปราชญ์คนสำคัญอีกคนหนึ่งใน พระพุทธศาสนามหายาน ได้จัดทำคัมภีร์พระพุทธศาสนามหายานหลายคัมภีร์ เช่น ปัญจกรรม (พ.ศ.2439) ปรสันนปทา (พ.ศ.2446-2456) มหานิเทศ (พ.ศ.2459-2460) เป็นต้น ใน ประเทศฝรั่งเศสนั้นไม่มีความตายของหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะมีการค้นคว้า อย่างต่อเนื่อง สถาบันการศึกษาระดับแนวหน้าทั้งหลายของประเทศฝรั่งเศส เช่น มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ยอมจ่ายเงินมหาศาลในการวิจัยพระพุทธศาสนา ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส สนใจพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันผู้ที่มีชื่อเสียงมากในฝรั่งเศสและในตะวันตกคือ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม ซึ่งปักหลักเผยแผ่พุทธธรรมอยู่ ณ หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ท่านอุทิศชีวิตเพื่อส่งเสริมแนวคิดความเมตตากรุณาและการ ไม่ใช้ความรุนแรง ประยุกต์พุทธศาสนาเพื่อรับใช้สังคมจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดา แห่งพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม” (Engaged Buddhism) ท่านเขียนหนังสือมากกว่า 100 เล่ม ตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลกกว่า 1,500,000 เล่ม เจมส์ ชาฮีน บรรณาธิการนิตยสารพระพุทธ ศาสนา ชื่อ ไตรไซเคิล (Tricycle) กล่าวว่า ในประเทศตะวันตก ท่านคือสัญลักษณ์ ผมไม่คิดว่า จะมีพุทธศาสนิกชนในโลกตะวันตกคนไหนที่ไม่รู้จัก ติช นัท ฮันห์ ท่านติช นัท ฮันห์ สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมคือหมู่บ้านพลัมขึ้นในปี พ.ศ.2525 ปัจจุบัน มีพระภิกษุอาศัยอยู่ประมาณ 150 รูป นอกจากนี้ยังมีแม่ชีและผู้รักในการปฏิบัติธรรมพักอยู่ จำนวนมาก ในช่วงภาคฤดูร้อนของแต่ละปีจะจัดโครงการปฏิบัติธรรม มีผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 1,000 คน เป็นชาวเวียดนามประมาณ 500 คน และชาวตะวันตกอีกประมาณ 500 คน นอกจากนี้ยังได้ขยายสาขาออกไปมากมายทั่วตะวันตก ความโดดเด่นในคำสอนและท่วงทำนองการเขียนหนังสือของท่านติช นัท ฮันห์ อยู่ที่ การทำให้ประจักษ์ว่า การปฏิบัติธรรมสามารถกระทำได้ในทุกขณะเวลา ไม่จำเป็นว่าต้องไปที่ www.budpage.com (2548). ท่าน ติช นัท ฮันห์ คืนถิ่น (ออนไลน์) 204 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More