ข้อความต้นฉบับในหน้า
การปรับปรุงคำสอนให้เข้ากับสังคมและกาลสมัยตามแนวทางของคณาจารย์ฝ่าย
มหายาน ถือว่าเป็นข้อเด่นที่เป็นประโยชน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ดี ใน
ประเด็นนี้มีข้อที่ควรพิจารณาคือ
1) การปรับพุทธพจน์
มหายานได้ใช้หลักจิตวิทยาที่เหนือกว่าการจูงใจคนคือปรับพุทธพจน์ให้เข้ากับบุคคล
ให้คนทั่วไปมีความรู้สึกว่า พุทธภาวะนั้นอยู่แค่เอื้อม บุคคลทุกเพศทุกวัยก็อาจบรรลุพุทธภาวะ
นั้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยพิธีรีตองหรือการปฏิบัติมาก เป็นการดึงพุทธธรรมเข้าหาบุคคลอย่าง
เหมาะเจาะ และเกิดความรู้สึกว่าเป็นกันเอง คือพุทธธรรมอยู่ในวิสัย อยู่ในความสามารถของ
สามัญชนที่หยั่งถึงได้ โดยไม่ต้องอาศัยพิธีการอะไรให้ยุ่งยากนัก
เมื่อเปรียบเทียบกัน อาจดูเหมือนว่า ฝ่ายเถรวาทจะตั้งเป้าหมายและวิธีบรรลุเป้าหมาย
ไว้สูงส่งและยากเกินไป และอาศัยผู้มีศรัทธาจริง ๆ จึงจะกล้าดำเนินตามเป้าหมายและบรรลุ
ตามเป้าหมาย ทำให้สามัญชนโดยทั่วไปมองพระพุทธศาสนาในแง่สูงสุดเอื้อม จะเห็นได้ง่ายๆ
ว่าแม้แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ ก็ยังมีความเห็นว่า เรื่องการปฏิบัติธรรมนั้นเป็น
เรื่องของพระภิกษุเท่านั้น ยิ่งเมื่อพูดถึงการบรรลุมรรคผลด้วยแล้ว ดูจะเป็นสิ่งที่เกินวิสัย และ
เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับฆราวาสผู้ที่ยังครองเรือนจะบรรลุธรรมได้ ดังนั้นจึงมักคิดว่าทางโลก
และทางธรรมเป็นสิ่งที่ต้องแยกออกจากกันและยากที่จะไปด้วยกันได้
เมื่อมองในอีกแง่หนึ่ง พระพุทธศาสนาเถรวาทมุ่งที่ปัจเจกภาพเฉพาะบุคคล คือเริ่มที่
ตนก่อนแล้วจึงไปหาผู้อื่น แต่มหายานมุ่งที่ผู้อื่น แล้วดึงเข้ามาหาตนเอง กล่าวง่ายๆ คือ
มหายานเอาปริมาณไว้ก่อน เพราะถือว่าเมื่อคนที่สนใจธรรมะมีมากขึ้น คนที่รู้แจ้งธรรมก็ย่อม
จะมีมากตามไปด้วยเป็นเงาตามตัว ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาแบบมหายาน จึงได้รับความ
นิยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็วและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้มากกว่า
2) ปัญหาที่เกิดจากการปรับพุทธพจน์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปรับพุทธพจน์จะทำให้มหายานประสบความสำเร็จในการ
เผยแผ่ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังก่อให้เกิดผลเสียที่เห็นได้ชัดเจนในแง่ที่ว่า
เมื่อมีการมองคำสอนหรือพระพุทธวจนะในแง่ปรัชญา คือมุ่งพิจารณาในแง่เหตุผล
มิใช่ในแง่ศรัทธา จึงปรากฏมีคณาจารย์มหายานตีความพระธรรมวินัยไปตามหลักเหตุผลที่
แตกต่างกัน
พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 91