ประเทศฝรั่งเศสและพระพุทธศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 211
หน้าที่ 211 / 249

สรุปเนื้อหา

ประเทศฝรั่งเศส (French Republic) มีประชากรประมาณ 61 ล้านคน โดยมีชาวฝรั่งเศสประมาณ 62% นับถือศาสนาคริสต์ ขณะที่ 26% ไม่มีศาสนา ความเชื่อทางศาสนาในฝรั่งเศสส่วนใหญ่เป็นเพียงในนาม โดยพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสมีเข้าใจผ่านผลงานของนักเขียน ยูยิน เบอร์นูฟ ผู้เผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของนิกายมหายาน, รวมถึงนักศึกษาพุทธศิลป์สำคัญเช่น เอ.ฟูเชอร์ ที่มีผลงานหลายเล่มที่พูดถึงพระพุทธศาสนา. สถานะของพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสตามที่รายงานการสำรวจพบว่า การปฏิบัติศาสนาเป็นเรื่องที่ไม่แพร่หลาย.

หัวข้อประเด็น

-ประเทศฝรั่งเศส
-พระพุทธศาสนาในยุโรป
-ยูยิน เบอร์นูฟ
-ศิลปะพุทธศาสนา
-นิกายมหายาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.2.4 ประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส (France) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) มีประชากรประมาณ 61,044,684 คน (พ.ศ.2549) จากสำรวจในปี พ.ศ.2546 พบว่า ชาวฝรั่งเศสประมาณ 62% นับถือศาสนาคริสต์ และ 26% ไม่มีศาสนา (no religion) นอกจากนี้มีชาวฝรั่งเศสอยู่ถึง 74% ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า (atheists, unlikely) และ Gallup International รายงานว่า มีชาวฝรั่งเศสเพียง 15% เท่านั้น ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเป็น ประจำ การนับถือศาสนาจึงเป็นเพียงในนามเสียเป็นส่วนใหญ่ขาดการปฏิบัติตามหลักศาสนา ส่วนพระพุทธศาสนานั้นปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 334 ศูนย์บ้างก็เป็นวัด บ้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ และศูนย์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นนิกายมหายาน โดยเฉพาะสายทิเบตและเซน พระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสเริ่มต้นโดย ยูยิน เบอร์นูฟ (Eugene Bernout) นักเขียน วรรณกรรมตะวันออกคนสำคัญของฝรั่งเศส ยูยิน เบอร์นูฟเขียนและพิมพ์เผยแพร่หนังสือ พระพุทธศาสนาชื่อ Essai sur le Pali ในปี พ.ศ.2369 อาจกล่าวได้ว่า ยูยิน เบอร์นูฟ เป็น บิดาแห่งพระพุทธศาสนาคดีศึกษาในทวีปยุโรป ทั้งนี้เพราะก่อนหน้านี้ ภาษาบาลีไม่มีใครใน ตะวันตกรู้จักและเข้าใจว่า เป็นภาษาอะไร สำคัญอย่างไร ยูยิน เบอร์นูฟ ได้ศึกษาคัมภีร์ พระพุทธศาสนาที่ บี.เอช.ฮอดสัน (B.H.Hodgson) ขณะดำรงตำแหน่ง British Resident-General ในประเทศเนปาล หนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของยูยิน เบอร์นูฟ เล่มที่ชาวยุโรป รู้จักกันดีที่สุดคือ หนังสือประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาในอินเดีย (Introduction a Historie du Buddhisme Indien) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.2387 นอกจากฝรั่งเศสจะมีนักปรัชญาศาสนาแล้วยังมีนักศึกษาพุทธศิลป์ที่สำคัญที่สุดอยู่ ท่านหนึ่งคือ เอ.ฟูเชอร์ (A.Foucher) บุคคลผู้นี้เขียนหนังสือพุทธศิลป์เผยแพร่ถึง 7 เล่ม หนังสือ เล่มที่ 1 พิมพ์ในกรุงปารีส ปีพ.ศ.2439 ชื่อ Les Scenes Figureers de la legende de Bouddha หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2448 เขาเขียนหนังสือพุทธศิลป์สมัยคุปตะ ชื่อ Lart grecobouddhique du Gandhara และในปี พ.ศ.2460 เอ.ฟูเชอร์ พิมพ์หนังสือชื่อ The Beginnings of Buddhist Art and Other Essays ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 202 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More