ข้อความต้นฉบับในหน้า
เล่าขานต่อ ๆ กันไปในยุโรปหลังจากที่ทหารเหล่านั้นกลับไปยังอาณาจักรมาซิโดเนียของตนแล้ว
เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพกลับแล้ว จันทรคุปต์ก็สามารถยึดเมืองปาฏลีบุตร
จาก “พระเจ้านันท์” แห่งกรีกได้สำเร็จ และปราบดาภิเษกตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์
โมริยะในเมืองปาฏลีบุตร เมื่อปี พ.ศ.222 และได้ปกครองอยู่นาน 26 ปี ในรัชสมัยของ
พระองค์ เมกาสเธเนส (Megasthenes) เอกอัครราชทูตจากเมืองอเล็กซานเดรียแห่งกรีก ได้
เดินทางมายังเมืองปาฏลีบุตร และได้บันทึกเรื่องพราหมณ์และสมณะทั้งหลายในอินเดียไว้
นักเขียนกรีกและละตินหลายท่านใช้บันทึกนี้อ้างอิงเรื่องราวในอินเดีย
เมื่อถึงยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.276-312) ได้มีการจัดส่งสมณทูตออกไป
เผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่าง ๆ เสถียร โพธินันทะ ปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา
กล่าวว่า ในครั้งนั้นพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปสู่ประเทศกรีกในทวีปยุโรปด้วย
คำว่า พระพุทธเจ้า ปรากฏครั้งแรกในเอกสารของกรีก เมื่อกาลผ่านไป 500 ปีหลังจาก
เมกาสเธเนส คลีเมนท์ (clement) เสียชีวิต ซึ่งเขียนพรรณนาไว้เมื่อ พ.ศ.743 ว่า “ชาวอินเดีย
ทั้งหลายได้ปฏิบัติเคร่งครัดซึ่งศีลของพระพุทธเจ้าและเคารพนับถือพระพุทธเจ้าดุจเทพเจ้า....”
หลังจากนั้นชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับรู้พระพุทธศาสนาอีกจนกระทั่ง พ.ศ. 1797 นักบวชวิลเลม
แวน ลุยส์โบรก และนักบวชนิกายฟรานซิสแกน ผู้เดินทางไปอยู่ในเมืองคะราโกรัมนาน 6 เดือน
ได้เขียนหนังสือชื่อ Itinerarium บรรยายเรื่องภิกษุลามะในประเทศทิเบตได้อย่างถูกต้องพร้อม
กล่าวถึงบทสวดมนต์ ...โอม มณี ปัทเม หุม...ด้วย
อย่างไรก็ตาม ชาวตะวันตกได้รับทราบเรื่องราวพระพุทธศาสนาโดยละเอียดถูกต้อง
สมบูรณ์จากหนังสือ Description of the World ของมาร์โค โปโล (Marco Polo) ซึ่งเดินทางไป
อยู่ในประเทศจีนนานถึง 16 ปี ระหว่าง พ.ศ.1818-พ.ศ. 1834 ได้พบพุทธศาสนิกชาวจีน
มากมาย เขาเขียนไว้ว่า “ตำบลซาจู อยู่ในเมืองดังกุก ประชาชนทั้งหลายนับถือพุทธปฏิมา
ยกเว้นชาวเตอร์ก และพวกซะราเซนบางคนที่เป็นคริสเตียน ประชาชนที่นับถือพุทธปฏิมาเหล่านี้
มีภาษาพูดของตัวเอง ไม่ประกอบการค้าขาย เลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูกธัญพืช มีภิกษุและวัด
มากหลาย วัดทั้งหลายมีพุทธปฏิมาแบบต่างๆ ประชาชนเคารพนับถือพุทธปฏิมาเหล่านั้น
อย่างท่วมท้นหัวใจ....3
1 เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, 2541 หน้า 189
2-3 พันเอก (พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์, สังคมวิทยาศาสนา, หน้า 2-3
186 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระพุ ท ธ ศ า ส น า