ประวัติพระพุทธศาสนาในเนปาล GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 123
หน้าที่ 123 / 249

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงพระราชทานเจ้าหญิงจารุมตีแก่ขุนนางชาวเนปาล พระพุทธศาสนาในเนปาลพัฒนาจากเถรวาทเป็นมหายาน ก่อนจะมีการฟื้นฟูในปัจจุบัน การสอนแต่ละนิกายสะท้อนแนวคิดทางปรัชญาที่หลากหลาย ชาวเนปาลยังคงรักษาพุทธปรัชญาไว้แม้จะมีการรุกรานจากชาวมุสลิม การฟื้นฟูในปัจจุบันมีการศึกษาในต่างประเทศ อาทิเช่น ศรีลังกา และการแปลพระสูตรเพื่อเผยแพร่ด้วย

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเนปาล
-นิกายเถรวาทและมหายาน
-การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล
-คำสอนของแต่ละนิกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงพระราชทานพระราชธิดาพระนามว่า จารุมตี แก่ขุนนางใหญ่ชาวเนปาล หลายแห่งในเนปาล ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่กรุงกาฐมาณฑุในปัจจุบัน พระเจ้าอโศกมหาราชและเจ้าหญิงจารุมตีทรงสร้างวัดและเจดีย์ พระพุทธศาสนาในยุคแรกเป็นนิกายเถรวาท ต่อมาเมื่อเสื่อมสูญไป เนปาลกลายเป็น ศูนย์กลางของมหายานนิกายตันตระ ซึ่งใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ๆ เกิดขึ้นอีก 4 นิกาย คือ สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ ซึ่งแต่ละนิกายยังแยกย่อยออกไปอีก นิกายต่าง ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเข้าด้วย กันของความคิดทางปรัชญาหลายๆ อย่าง ชาวเนปาลได้รักษาสืบทอดพุทธปรัชญาเหล่านี้มาจนถึง ปัจจุบัน ในแต่ละนิกายมีคำสอนดังนี้ 1. นิกายสวาภาวิภะ นิกายนี้สอนว่า สิ่งทั้งหลายในโลกมีลักษณะแท้จริงในตัวของมันเอง ซึ่งแสดงออกเป็น 2 ทาง คือ ความเจริญ (ปรวฤตติ) และความเสื่อม (นิวฤตฺติ) 2. นิกายไอศวริกะ นิกายนี้สอนให้เชื่อในเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ที่สุด และมีอำนาจที่สุด 3. นิกายการมิกะ นิกายนี้สอนการอบรมจิตใจ เพราะเป็นวิธีกำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นได้ 4. นิกายยาตริกะ นิกายนี้สอนให้เชื่อในความมีอยู่ของวุฒิปัญญาและเจตจำนงอิสระ ซึ่ง เป็นการผสมผสานระหว่างปรัชญาต่าง ๆ ของอินเดียและทิเบต ภายใต้อิทธิพลของศาสนาฮินดู และพระพุทธศาสนา ในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหารและเบงกอลของอินเดีย พระภิกษุจาก อินเดียต้องหลบหนีภัยเข้าไปอาศัยในเนปาล และได้นำคัมภีร์พระพุทธศาสนาเข้าไปด้วย ซึ่งมี การเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อมหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดียถูกทำลาย ก็ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในเนปาลพลอยเสื่อมลงด้วย ปัจจุบันเนปาลมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทขึ้นใหม่ โดยส่งพระภิกษุสามเณร ไปศึกษาในประเทศต่างๆ เช่น ศรีลังกา พม่า และไทย เมื่อกลับมาเนปาลแล้วก็ออกเผยแผ่ พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะพระภิกษุที่เดินทางไปศรีลังกาได้อาราธนาท่าน ธรรโทรยะสุภะ ภิกษุชาวศรีลังกามาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วย มีการแปลพระสูตรจากภาษา บาลีเป็นภาษาท้องถิ่นแล้วจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ 114 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More