ข้อความต้นฉบับในหน้า
เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือเป็นหน่วยเศรษฐกิจของชุมชนมาจากท้อง และ
วรรณะศูทรซึ่งเป็นพวกใช้แรงงานมาจากเท้าของพระพรหม
การที่มนุษย์ถือกำเนิดมาจากอวัยวะที่ต่างกันดังนี้ จึงไม่มีความเสมอภาคกันตั้งแต่เกิด
แต่เพราะนั่นเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้กำหนดไว้แล้ว จึงต้องถือปฏิบัติตามอย่าง
เคร่งครัด ดังนั้นผู้ที่เกิดในวรรณะใดก็ต้องดำรงอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป และการประกอบอาชีพก็
ต้องให้เป็นไปตามหน้าที่ของตนๆ จะก้าวก่ายกันไม่ได้ และห้ามมิให้คนต่างชั้นวรรณะกัน
ทำการสมรสข้ามวรรณะ ต้องสมรสกับคนภายในวรรณะเดียวกันเท่านั้น หากมีการสมรสข้าม
วรรณะกัน บุตรที่เกิดมาก็จะไม่อาจเข้าชั้นวรรณะใดได้อีก และจะถูกเรียกว่าจัณฑาล กลายเป็น
บุคคลที่ถูกสังคมเหยียดหยามดูถูก ทั้งนี้ก็เพราะต้องการปกป้องสายเลือดและชนชั้นของเผ่า
อารยันเป็นหลัก หากใครฝ่าฝืนนอกจากจะถือว่าเป็นการทรยศต่อวรรณะตนเองแล้ว ยังถือว่า
เป็นการขัดบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าย่อมจะถูกพระเจ้าลงโทษ เรียกว่า “เทวทัณฑ์” บ้าง หรือ
“พรหมทัณฑ์” บ้าง ผู้ที่เกิดในวรรณะต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกศูทรและจัณฑาล ต้องยอมรับ
ปฏิบัติตามคำสั่งของพราหมณ์โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ พวกศูทรจึงเป็นพวกที่ได้รับชะตากรรมมาก
ที่สุดและน่าสงสารมากที่สุด แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีความเชื่อเช่นนี้หลงเหลืออยู่ในอินเดียอีกมาก
2.2.3 ยุคอุปนิษัท (Upanishad Period) ประมาณ 150-100 ปี ก่อนพุทธศักราช
“พรหมัน” ในคัมภีร์อุปนิษัท
ศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการจากยุคพราหมณะเข้าสู่ยุคที่ 3 คือยุคอุปนิษัท ซึ่งเป็น
ช่วงที่ชาวอินเดียสร้างรากฐานทางสังคมที่มั่นคงแข็งแกร่งแล้ว แต่ในทางศาสนา ผู้คนกลับเริ่ม
ฉุกคิดว่า “ลำพังการบูชายัญอย่างที่เคยประพฤติมานั้น ไม่สู้จะได้ผลอะไรเลย ยังไม่เห็นเลยว่า
จะสามารถเอาชนะทุกข์ได้อย่างแท้จริง นอกจากจะเป็นการปลอบใจชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น”
ดังนั้นต่อมาจึงเกิดมีนักปรัชญาที่พยายามค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงของชีวิตว่า
“ชีวิตคืออะไร เราเกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน”
ความสงสัยและความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มรุนแรงมากขึ้น จนถึงขนาดที่ว่ามีการรวม
กลุ่มอภิปรายปัญหาต่าง ๆ เพื่อคัดค้านพราหมณ์เลยทีเดียว โดยมีวรรณะกษัตริย์เป็นแกนนำ
3
1 วิสุทธิ์ บุษยกุล, พรหมสี่หน้า, 2549 หน้า 8
* ดวงธิดา ราเมศวร์, 2 อารยธรรมยิ่งใหญ่แห่งอาเซียน อินเดีย-จีน, 2549 หน้า 33
*พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ), ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย, 2534 หน้า 32-33
สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 31