คัมภีร์อุปนิษัทและความสำคัญในศาสนาพราหมณ์ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 41
หน้าที่ 41 / 249

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์อุปนิษัทเป็นการรวบรวมความคิดเกี่ยวกับปฐมเหตุของโลกและชีวิต รวมถึงเรื่องของพรหมัน ซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาพราหมณ์และการพัฒนาปรัชญา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริงสูงสุดและพื้นฐานของการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยเฉพาะการรู้จักพรหมันที่สูงกว่า พระเวท ให้ความสำคัญในการเข้าใจสัจธรรมตามแนวคิดของฮินดู อีกทั้งคำว่าอุปนิษัทยังสะท้อนถึงการศึกษาที่ลึกซึ้งและความตั้งใจในการรับฟังคำสอนจากผู้รู้ เพื่อทำลายอวิชชาและความสงสัยในตัวเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้คัมภีร์อุปนิษัทเป็นส่วนสำคัญในปรัชญาของฮินดูและมีอิทธิพลต่อความคิดในยุคต่อๆ มา ระหว่างที่พุทธศาสนากำลังได้รับความนิยม ด้วยความลึกซึ้งของคำสอนในอุปนิษัทยังทำให้เกิดคำสอนที่ขยายความออกไปในลัทธิเวทานตะ

หัวข้อประเด็น

-คัมภีร์อุปนิษัท
-ปรัชญาพราหมณ์
-ความจริงสูงสุด
-พรหมัน
-การหลุดพ้นจากทุกข์
-เวทานตะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สร้างปรัชญาใหม่ๆ วันดีคืนดีก็ตั้งปัญหาถามพวกพราหมณ์ว่า “อะไรคือปฐมเหตุของโลกและชีวิต พรหมคืออะไร เราเกิดมาจากไหน เราอยู่ได้ด้วยอะไร เราถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานแห่งอะไร” เมื่อต่างคนต่างพยายามใช้ปัญญาของตนขบคิดหาเหตุผล จึงพบข้อสรุปบางประการที่ น่าสนใจ ซึ่งได้รวบรวมขึ้นมาใหม่เป็นอีกคัมภีร์หนึ่ง ให้ชื่อว่า “คัมภีร์อุปนิษัท” (Upanishads) ซึ่งเป็นบทสรุปของคัมภีร์พระเวท ถือเป็นตัวแทนพัฒนาการด้านความคิดตามคัมภีร์พระเวท ขั้นสุดท้าย และเป็นลักษณะสุดท้ายของศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นคัมภีร์อุปนิษัทจึงเป็นอวสาน ของพระเวท และสำนักปรัชญาลัทธิฮินดูในสมัยต่อมา ก็ล้วนวางหลักคำสอนของตนไว้กับคัมภีร์ อุปนิษัทที่ขยายความออกไปที่เรียกว่า “เวทานตะ” (Vedanta) นั่นเอง คัมภีร์อุปนิษัทเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดนั้นยังหาข้อสรุปได้ยา ทั้งนี้เพราะคัมภีร์อุปนิษัท มีอยู่นับร้อยเล่ม และแต่ละเล่มก็ไม่ตรงกันหรือที่ขัดแย้งกันเองก็มี นักปราชญ์ฝ่ายฮินดูกล่าวว่า อุปนิษัทต้องเกิดก่อนพุทธศาสนาอย่างแน่นอน ส่วนบางท่านมีความเห็นแย้งกันว่าคัมภีร์ อุปนิษัทอาจเกิดขึ้นหลังพุทธกาล คือเป็นผลงานของพวกฮินดูซึ่งหาทางจะดำรงไว้ซึ่งศาสนา พราหมณ์ในยุคที่พุทธศาสนาและศาสนาเชนกำลังรุ่งเรือง คำสอนในคัมภีร์อุปนิษัทเป็นปรัชญาที่ลึกซึ้งและเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจได้ ที่เห็นได้ ชัดคือคำสอนเรื่องความจริงสูงสุดที่เรียกว่า “พรหมัน” (Brahman) ซึ่งเป็นคำสอนใหม่ที่ไม่มี ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อุปนิษัทกล่าวว่า แม้พระเวทจะถือกันว่าเป็นพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง (ศรุติ) แต่ที่แท้จริงก็เป็นสิ่งที่เกิดมาจากพรหมัน ออกมากับลมหายใจของพรหมันนั่นเอง ดังนั้น พรหมันในคัมภีร์อุปนิษัทจึงมีความสำคัญเหนือกว่าพระเวทมากนักดังจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า “ผู้ที่รู้จักพระเวทที่ดีที่สุด ก็ยังไม่อาจหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ถ้าเขายังไม่รู้จักพรหมัน ตรงข้ามถ้า รู้จักพรหมันแต่ไม่รู้พระเวทเลย กลับสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้” 6 6 1 คำว่า อุปนิษัท มาจาก อุป (ใกล้) + นิ (ตั้งใจ) + ษท (นั่งลง) หมายความว่า นั่งเข้ามาตีวงใกล้ๆ หรือเข้ามานั่ง ฟังใกล้ๆ อย่างตั้งใจรับฟังคำสอน (สัจธรรม) จากครูบาอาจารย์ เพื่อบรรเทาความสงสัยและทำลายอวิชชาในตัว ศิษย์ให้สิ้นไป นั่นแสดงว่าคัมภีร์อุปนิษัทเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เป็นบทเรียนอันเป็นส่วนลึกในก้นบึงที่ ครูบาอาจารย์จะถ่ายทอดแก่ศิษย์ จนสิ้นความสงสัย * คำว่า เวทานตะ มาจาก เวท+อันตะ หมายถึง ส่วนอันเป็นที่สุดแห่งพระเวท 3 พระมหาสมจินต์ สมมาปุญฺโญ, พุทธปรัชญา สาระและพัฒนาการ, 2544 หน้า 6. สิริวัฒน์ คำวันสา, พุทธศาสนาในอินเดีย, 2534 หน้า 18. * คำว่า “พรหมัน” ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ อาทิ ปรมาตมัน อาตมัน ปรมพรหม หรืออันติมสัจจะ สุมาลี มหณรงค์ชัย, ฮินดู-พุทธ จุดยืนที่แตกต่าง, 2546 หน้า 51. 32 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More