ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.3.3 สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย
ทั้งที่พระพุทธศาสนาถือกำเนิดในประเทศอินเดีย แต่ต่อมาในขณะที่พระพุทธศาสนา
แผ่ขยายและเจริญรุ่งเรืองไปในดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก พระพุทธศาสนาในอินเดียเองกลับเสื่อมลง
จนในยุคหนึ่งกล่าวได้ว่าแทบไม่มีชาวพุทธหลงเหลืออยู่เลย ที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ
หลักดังต่อไปนี้
1. สาเหตุภายใน
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาซึ่งมีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง ในแง่
การปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่นิพพานนั้น พระภิกษุสงฆ์คือผู้ที่สละโลก ตั้งใจปฏิบัติธรรมขัดเกลากิเลส
ถือเป็นแบบอย่างของชาวพุทธโดยทั่วไป และในแง่การเผยแผ่ศาสนา พระภิกษุสงฆ์ก็อยู่ใน
ฐานะของครูผู้สอน โดยสาธุชนทั่วไปเป็นผู้รับฟังคำสอนแล้วนำไปปฏิบัติ และทำบุญให้การ
สนับสนุนในการดำรงชีพและการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์
ในระยะแรกพระภิกษุสงฆ์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ปฏิบัติ
ตนเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์อื่นในการเผยแผ่พระศาสนา พระภิกษุสงฆ์
ส่วนใหญ่ต่างมีความศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นแฟ้น เป้าหมายการบวชใน
สมัยนั้นคือบวชเพื่อมุ่งพระนิพพานกันจริง ๆ ให้ความสำคัญทั้งการศึกษาพระปริยัติธรรมและ
การปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแผ่สั่งสอนประชาชนให้ปฏิบัติตามต่อไป
พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต่อมาผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีจำนวนน้อยลง ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ก็มีทั้งผู้ที่มี
ใจรักมีความเชี่ยวชาญทางด้านพระปริยัติธรรมและผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านธรรมปฏิบัติ แต่เนื่องจาก
การศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นสิ่งที่สามารถวัดความรู้ได้ สามารถจัดการศึกษาเป็นระบบและ
ให้วุฒิการศึกษาได้ ในขณะที่ธรรมปฏิบัติเป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตน เป็นของละเอียด วัดได้ยาก และ
เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมปฏิบัติ มักมีใจโน้มเอียงไปในทางแสวงหาความ
สงบสงัด มักไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เมื่อเป็นเช่นนี้ หลังจากเวลาผ่านไป
พระภิกษุสงฆ์ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านพระปริยัติธรรมจึงขึ้นมาเป็นผู้บริหารคณะสงฆ์ไปโดย
ปริยาย
Kitagawa, Joseph M. Buddhism and Social Change: A Historical Perspective, 1980 p. 89
102 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา