ข้อความต้นฉบับในหน้า
สำหรับพระพุทธศาสนามหายานนิชิเร็นนิกายโซกะ กับไคนั้น เริ่มต้นเมื่อปี
พ.ศ.2507
โดยไดซารุ อิเคดะ ผู้นำองค์กรโซกะ กัดไคคนปัจจุบัน ได้เดินทางเข้าไปในประเทศออสเตรเลีย
จัดตั้งกลุ่มโซกะ กับไคขึ้นที่เมืองเมลเบิร์น มีสมาชิก 6 คน หลังจากนั้นได้ขยายกลุ่มออกไป
อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 270 กลุ่มทั่วประเทศออสเตรเลีย แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก
ประมาณ 5-10 คน
ส่วนพระพุทธศาสนาทิเบต เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 โดยลามะจากทิเบตรูปแรก
เดินทางเข้าไปเผยแผ่ในออสเตรเลีย จากนั้นในปี พ.ศ.2519 ลามะชื่อ Geshe Acharya Thubten
Loden ก็เข้าไปประกาศพระศาสนา ได้ตระเวนสอนชาวออสเตรเลียประมาณ 1,000 คน ถึง
วิธีการเข้าถึงความสุขและสันติภาพอันยิ่งใหญ่ผ่านหลักพุทธศาสนาทิเบต นอกจากนี้องค์ทะไล
ลามะผู้นำสงฆ์แห่งทิเบตก็ได้เข้าไปโปรดชาวออสเตรเลียด้วยเช่นกัน โดยเข้าไปถึง 3 ครั้ง คือ
ในปี พ.ศ.2525 พ.ศ.2535 และพ.ศ. 2539 ไปแต่ละครั้งก็ได้พบปะกับพุทธศาสนิกชน
มากมาย และที่สำคัญในการไปครั้งที่สาม องค์ทะไล ลามะได้เข้าพบและถ่ายรูปร่วมกับจอห์น
ฮาวเวิร์ด (John Howard) นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศออสเตรเลียด้วย ปัจจุบันศูนย์พระพุทธ
ศาสนาทิเบตมีมากมายทั่วประเทศออสเตรเลีย จากข้อมูลในเว็บไซต์ www.buddhanet.net
ระบุว่าปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 107 ศูนย์ ซึ่งถือว่ามีอัตราการเติบโตรวดเร็วมาก
6.3 สาเหตุที่ชาวตะวันตกหันมานับถือพระพุทธศาสนา
การมาเอเชียของชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม แม้โดยมากความตั้งใจเดิมจะมา
เพื่อการค้า การเมือง และการเผยแผ่คริสต์ศาสนา แต่เมื่อเขาเหล่านั้นได้สัมผัสกับหลักเหตุผล
ในพระพุทธศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในตะวันตก ทำให้
หลายต่อหลายคนเกิดความประทับใจทุ่มเทศึกษาอย่างจริงจัง และยังเป็นกำลังสำคัญในการ
เผยแผ่ในแดนตะวันตกด้วย ประกอบกับในพุทธศตวรรษที่ 24 และ 25 ที่ผ่านมา มีการจัดส่ง
สมณทูตจำนวนมากจากเอเชียไปเผยแผ่พุทธธรรมในยุโรป อเมริกา และโอเชียเนีย ปัจจุบัน
ชาวตะวันตกจำนวนไม่น้อยจึงหันมาสนใจพระพุทธศาสนาและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนามหายาน ทั้งนี้เพราะหลักคำสอนที่ให้ศรัทธาในพระเจ้าโดย
ปราศจากเหตุผล ไม่เป็นที่นิยมของชาวตะวันตกเสียแล้ว ชาวยุโรปและอเมริกาจำนวนมาก
ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า หากพระเจ้าทรงมีมหิทธานุภาพ ทรงสร้างสรรพสิ่ง และยิ่งด้วยความ
เมตตากรุณาจริง พระองค์คงไม่ปล่อยให้โศกนาฏกรรมสะเทือนโลกวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2544
220 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระพุ ท ธ ศ า ส น า