ข้อความต้นฉบับในหน้า
ลำดับ พราหมณ์
11 พราหมณ์ผู้หนึ่ง
สถานภาพ เมือง สิ่งที่บ่งชี้ความเลื่อมใส อ้างอิง
ผู้เป็นเศรษฐี
แสดงตนเป็นอุบาสก อัง.ติก.34/496/225
12 อุคคตสรีระ
ผู้เป็นเศรษฐี | สาวัตถี
แสดงตนเป็นอุบาสก
อัง.สัตตก.37/44/117
13 พราหมณ์ผู้หนึ่ง
ผู้เป็นเศรษฐี | สาวัตถี | แสดงตนเป็นอุบาสก
สัง.ส.25/693/277
15
14 พราหมณ์เป็นอันมาก ผู้เป็นเศรษฐี | สาวัตถี | แสดงตนเป็นอุบาสก
พราหมณ์พาวรีและ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ อัสสกะ เลื่อมใสในลักษณะ
ลูกศิษย์ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ
16 ท่าน
มหาบุรุษและฤทธิ์ทางใจ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
| ขุ.สุ. 47/324/232
ขุ.สุ. 47/424/864-875
ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก นอกจากนี้
ยังมีเศรษฐีมหาเศรษฐีจำนวนมากที่เลื่อมใสและเป็นกำลังสำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น โชติก-
เศรษฐี เมณฑกเศรษฐี ชฏิลเศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น และยังมี
ประชาชนพลเมืองทั่วไปอีกมากมาย เฉพาะในแคว้นมคธเพียงแคว้นเดียวก็มีราษฎรจำนวน
มากใน 80,000 ตำบล ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยครั้งหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารเรียกประชุม
ราษฎรทั้ง 80,000 ตำบล ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ จากนั้นก็ให้ราษฎรทั้งหมด
ไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นมีผู้ได้ตรัสรู้ธรรมกันจำนวนมาก
จากตัวอย่างที่ยกมานี้จึงกล่าวได้ว่าเวลาเพียง 45 ปีแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเชื่อและวัฒนธรรมในสังคมอินเดียได้เปลี่ยนแปลงไปอย่าง
มากมาย ศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมความนับถือลงและต้องปรับตัวขนานใหญ่จนกลายเป็น
ศาสนาฮินดูในเวลาต่อมา
ทั้งนี้เพราะแคว้นใหญ่ๆ ในอินเดียสมัยพุทธกาลมีทั้งหมด 16 แคว้น ตามที่ปรากฏใน
พระไตรปิฎก ดังตารางที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า มีกษัตริย์พราหมณ์ผู้ปกครองและพราหมณ์
เจ้าลัทธิรวมทั้งมหาเศรษฐีในแคว้นต่างๆ จำนวนมากที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อชนชั้น
ผู้ปกครองศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้วประชาชนทั่วไปก็จะศรัทธาตามด้วย
สาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงความเชื่อและวัฒนธรรมในสังคมอินเดียอย่างรวดเร็วใน
วินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม 7 ข้อ 1 หน้า 1-4
60 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า