พระพุทธศาสนาในยุค พ.ศ.500–1000 GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 87
หน้าที่ 87 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการพัฒนาของพระพุทธศาสนาในช่วงพ.ศ.500–1000 เน้นการก่อตัวของนิกายมหายาน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการแตกแยกภายในของสงฆ์ การทิ้งความคิดเห็นที่แตกต่างในธรรมและพระวินัย รวมถึงผลกระทบจากศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามารุกราน ทำให้ประชาชนมีทัศนะที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับศาสนา นิกายมหายานได้เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเฉพาะจากผลงานของพระอัศวโฆษซึ่งสร้างสรรค์คัมภีร์ศรัทโธตปาทศาสตร์ สนใจศึกษาร่องรอยของมหายานและการพัฒนาทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในไทย ประวัติศาสตร์นี้มีความหมายต่อการทำความเข้าใจความแตกต่างของนิกายและความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การเกิดขึ้นของนิกายมหายาน
-การแตกแยกของสงฆ์
-สาเหตุภายในและภายนอกพระพุทธศาสนา
-ประวัติศาสตร์ยุคพุทธศตวรรษที่ 6

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.2 พระพุทธศาสนาในยุค พ.ศ.500–1000 ที่ 2 ในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ หรือแม้แต่หลังจากเสด็จ ดับขันธปรินิพพานแล้วใหม่ๆ รูปแบบของนิกายมหายานยังไม่ได้เกิดขึ้นถึงแม้ในต้นพุทธศตวรรษ 2 พระพุทธศาสนาจะเริ่มแยกเป็น 2 นิกาย คือ เถรวาท (หรือสถวีรวาทิน) และอาจาริยวาท (หรือมหาสังฆิกะ) หรือแม้แต่ในพุทธศตวรรษที่ 3 พระพุทธศาสนาจะได้แตกออกเป็น 18 นิกาย แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นนิกายมหายานแต่อย่างใด เพียงแต่ถือว่าเป็นความคิดของ คณาจารย์ที่ไม่ตรงกัน แต่ก็ยอมรับว่าคงมีการก่อตัวที่เป็นมหายานในช่วงนี้ จนเมื่อพุทธศตวรรษ ที่ 6 (ประมาณพ.ศ.500 เศษๆ) พระอัศวโฆษ (Ashvagosa) ภิกษุชาวเมืองสาเกต ในสมัย พระเจ้ากนิษกะแต่งคัมภีร์ศรัทโธตปาทศาสตร์ขึ้น นิกายมหายานซึ่งเป็นกระแสที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เป็นเวลานานจึงปรากฏรูปร่างชัดเจนขึ้นในพุทธศตวรรษนี้และมีพัฒนาการต่อไปอย่างรวดเร็ว ดังหัวข้อที่จะได้ศึกษากันต่อไป 4.2.1 ร่องรอยและบ่อเกิดของนิกายมหายาน เมื่อพิจารณาถึงบ่อเกิดของพุทธศาสนามหายานแล้ว พบว่ามีสาเหตุหลักอยู่ 2 ประการ ได้แก่ สาเหตุภายในพระพุทธศาสนา คือ การแตกเป็นนิกายต่างๆ และสาเหตุภายนอกพระพุทธ ศาสนา คือ การรุกรานของศาสนาพราหมณ์ 1. สาเหตุภายในพระพุทธศาสนา การแตกเป็นนิกายต่าง ๆ มีจุดเริ่มต้นมาจากการแตกความสามัคคีกันในหมู่สงฆ์ ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ 1. แตกกันด้วยทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องธรรม 2. แตกกันด้วยสีลสามัญญตา มีความเคร่งครัดในการรักษาพระวินัยไม่เท่ากัน ซึ่งแม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หากแต่ระงับลง ได้ในที่สุด ดังเช่นกรณีการทะเลาะวิวาทของภิกษุเมืองโกสัมพี ซึ่งแยกเป็นสองฝักสองฝ่าย คือ ฝ่าย พระวินัยธร 500 รูป และฝ่ายพระธรรมกถึก 500 รูป เกิดการขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นอาบัติ และไม่เป็นอาบัติเรื่องมีอยู่ว่า พระธรรมกถึกเหลือน้ำชำระไว้ในวัจจกุฎี พระวินัยธรเห็นเข้าจึงบอก ว่า “เป็นอาบัติ” ครั้นพระธรรมกถึกจะปลงอาบัติ พระวินัยธรกลับบอกว่า “ถ้าไม่มีเจตนาก็ 1 ประยงค์ แสนบุราณ, พระพุทธศาสนามหายาน, 2549 หน้า 65 78 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More