ข้อความต้นฉบับในหน้า
พื้นเมืองที่นับถือธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่มุ่งเน้นธรรมชาติทั้ง 4 คือดิน น้ำ ลม และไฟที่มอบ
ความอุดมสมบูรณ์ให้กับมนุษย์มากกว่า ในที่สุดลัทธิประเพณีทางศาสนาของอารยันก็ได้ผสม
กลมกลืนกับความเชื่อของชนพื้นเมืองเดิมจนแยกกันไม่ออก ก่อตัวเป็นลัทธิศาสนาใหม่ที่
พัฒนาจนกลายมาเป็นศาสนาพราหมณ์ (Brahmana) ที่แพร่หลายไปทั่วแผ่นดินอินเดียมาจนถึง
ปัจจุบัน
เหตุที่เรียกกันว่า “ศาสนาพราหมณ์” เนื่องจากมีวรรณะพราหมณ์เป็นผู้ศึกษาและ
สืบทอดความรู้เหล่านั้น ฉะนั้นพราหมณ์จึงเป็นกลุ่มผู้รู้ที่วรรณะอื่นต้องนับถือ ไม่เว้นแม้แต่
วรรณะกษัตริย์ที่ต้องเชื่อฟัง เนื่องจากพราหมณ์สามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้โดยตรงและยังมี
ความรู้ความสามารถในการประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าเหล่านั้นอีกด้วย
การบูชายัญจึงเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติกันเรื่อยมาโดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่ง
แต่เดิมนั้น การบูชายัญในยุคแรกๆ จะใช้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเท่านั้น ยังไม่
ปรากฏว่ามีการฆ่าชีวิตเพื่อบูชายัญแต่อย่างใด แต่ต่อมาเมื่อพิธีกรรมเปลี่ยนแปลงไป มีการนำ
เอาสัตว์และมนุษย์มาฆ่าเพื่อบูชายัญ เพราะคนอินเดียในสมัยนั้นเชื่อว่าการประกอบพิธี
บูชายัญดังกล่าวจะช่วยให้ชีวิตยืนยาว มั่นคงด้วยธนสารสมบัติ เพียบพร้อมด้วยทายาทและ
เกียรติยศชื่อเสียง'
ศาสนาพราหมณ์ที่พวกอารยันได้พัฒนาขึ้นนั้น เต็มไปด้วยบทโศลกสรรเสริญบูชา
เทพเจ้ารวมถึงตำราเกี่ยวกับพิธีกรรมและเรื่องราวทางด้านปรัชญาอื่นๆ ที่เชื่อกันว่าเป็นคำทิพย์ที่
ได้ยินมาจากเทพเจ้า โดยมีพราหมณ์เป็นผู้รับมาจากพระโอษฐ์ของพระพรหม (Brahma) ซึ่ง
เป็นพระผู้สร้างโลกและสรรพสัตว์โดยตรง ต่อมาได้มีการจัดรวบรวมบทสวดเหล่านั้นขึ้นเป็น
หมวดหมู่ และบันทึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นภาษาเก่าแก่ชั้นสูง เรียกว่า คัมภีร์
พระเวท (Veda)
นับแต่นั้นมาศาสนาพราหมณ์ถือว่า พระเวทเป็นตัวคัมภีร์ที่เป็นนิรันดร เกิดจากการ
ดลใจของเทพเจ้า จึงพากันยอมรับนับถือไว้ในฐานะสัจธรรมที่เป็นแก่นแท้ของศาสนาพราหมณ์
แม้แต่ตัวหนังสือที่จดคัมภีร์พระเวทก็ยังได้รับการนับถืออย่างยิ่งราวกับเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง
โดยเฉพาะพยางค์ตอนขึ้นต้นโศลกที่ออกเสียงว่าโอม (Om) ถือว่าเป็นสิ่งที่ประจุพลังอำนาจ
และความลึกลับของคัมภีร์พระเวทไว้อย่างเหลือเชื่อ
1 จันทรัชนันท์ สิงหทัต, “การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องจิตในพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานอินเดีย”,
วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539 หน้า 13
สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 25