ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. อันโตปักกะ ให้มีการหุงต้มอาหารในที่อยู่ของตน
3. สามปักกะ พระลงมือหุงปรุงอาหารด้วยตนเอง
4. อุคคหิตะ คือการหยิบเอาเองซึ่งของเคี้ยวของฉันที่ยังมิได้ประเคน
5. ตโตนีหูตะ ของที่นำมาจากที่นิมนต์ ซึ่งเป็นพวกอาหาร
6. ปุเรภัตตะ การฉันอาหารก่อนเวลาภัตตาหาร ในกรณีที่ตนรับนิมนต์ไว้ในที่อื่น
แต่ฉันอาหารอื่นก่อนอาหารที่ตนจะต้องฉันในที่นิมนต์
7. วนัฏฐะ ของที่เกิดหรือตกอยู่ในป่า ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ
8. โปกขรณัฏฐะ ของที่เกิดในสระ เช่น ดอกบัว เหง้าบัว
วัตถุทั้ง 8 ประการ เป็นพุทธานุญาตพิเศษในคราวเกิดทุพภิกขภัย 2 คราว คือ ที่
เมืองเวสาลีและที่เมืองราชคฤห์ แต่เมื่อทุพภิกขภัยผ่านพ้นไปแล้ว ทรงห้ามมิให้ภิกษุกระทำ
พระปุราณะและบริวารของท่านคงจะได้ทราบเฉพาะเวลาที่ทรงอนุญาต จึงปฏิบัติไปอย่างนั้น
เนื่องจากการอยู่กันกระจัดกระจายคนละทิศละทาง การติดต่อบอกกล่าวอาจไม่ถึงกัน ซึ่งจะว่า
ท่านดื้อรั้นก็คงไม่ใช่ เพราะท่านถือตามที่ท่านได้สดับมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน
เมื่อพระสังคีติกาจารย์ชี้แจงให้ท่านฟัง ท่านปุราณะก็มีความเห็นว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
มีพระสัพพัญญุตญาณไม่สมควรที่จะบัญญัติห้ามแล้วอนุญาต อนุญาตแล้วกลับบัญญัติห้าม
มิใช่หรือ”
เมื่อเป็นดังนี้ ความแตกต่างในทางข้อปฏิบัติ (สีลสามัญญตา) จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้น
แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้เกิดการแตกแยกเป็นนิกาย
4.1.2 การสังคายนาครั้งที่ 2
ทุติยสังคายนา
ประธานสงฆ์
: ประมาณ พ.ศ.100
: มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธาน
พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบ
ผู้เข้าร่วมประชุมสังคายนา : พระอรหันตขีณาสพจำนวน 700 รูป
องค์อุปถัมภ์
: พระเจ้ากาฬาโศกราช
เหตุปรารภในการทำสังคายนา : วัตถุ 10 ประการ
สถานที่ประชุมทำสังคายนา : วาสิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ระยะเวลาในการประชุม - กระทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ
72 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา