ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 147
หน้าที่ 147 / 249

สรุปเนื้อหา

ในยุคปิดประเทศของญี่ปุ่น (ประมาณ 250 ปี) พระพุทธศาสนาซบเซา เนื่องจากการสนับสนุนของรัฐบาลต่อศาสนาขงจื้อ เมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี พ.ศ.2396 และเข้าสู่ยุคเมจิ (พ.ศ.2411-2455) ประเทศได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ลัทธิชินโตได้รับความนิยม ขณะที่พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมและถูกจำกัดอย่างหนัก แต่ด้วยความตื่นตัว พุทธบริษัทจึงเริ่มปฏิรูปโดยการสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัยการกุศล และส่งเสริมการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้ฐานะของพระพุทธศาสนาฟื้นตัวและสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ถูกคุกคามจากรัฐบาลในภายหลัง ทุกความเคลื่อนไหวนี้ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าทางด้านความรู้จนเป็นที่รู้จักในระดับสากล

หัวข้อประเด็น

-ประวัติพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
-ยุคปิดประเทศ
-ยุคเมจิและการพัฒนาศาสตร์
-การปฏิรูปพระพุทธศาสนา
-ลัทธิชินโตและความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา
-การส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ญี่ปุ่นจึงเข้าสู่ยุคปิดประเทศ สถานการณ์พระพุทธศาสนายุคนี้ก็ซบเซา เพราะถูกรัฐบาล แทรกแซง และให้การสนับสนุนศาสนาขงจื้อแทน ยุคเมจิถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นปิดประเทศอยู่ประมาณ 250 ปี เปิดประเทศอีกครั้งหลังจาก การมาเยือนของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2396 ยุคนี้ระบบโชกุนอ่อนแอลงมากและสิ้นอำนาจ ลงในสมัยพระจักรพรรดิเมจิ” (พ.ศ.2411-2455) สมัยนี้ญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามาก ด้วยระยะ เวลาเพียง 30 ปีแห่งการพัฒนาประเทศตามตะวันตก ญี่ปุ่นได้กลายเป็นยุโรปแห่งตะวันออก มีกำลังทางเศรษฐกิจและทางทหารพรั่งพร้อม จนสามารถจมกองทัพเรือรัสเซียในทะเลญี่ปุ่นได้ทั้ง กองทัพ ยุคนี้ลัทธิชินโตได้รับความนิยม เพราะคำสอนยกย่องพระจักรพรรดิให้เป็นอวตารของ เทพเจ้า ส่วนพระพุทธศาสนากลับเสื่อมโทรม มีการห้ามตั้งนิกายใหม่ ห้ามสร้างวัดเพิ่ม พิธีกรรม ความเชื่อและวัตถุที่เคารพในพระพุทธศาสนาถูกยกเลิกจากพระราชสำนักทั้งหมด ประกาศให้ ยึดวัดมาสร้างเป็นโรงเรียน โรงงาน บังคับให้ไปมีสามี ด้วยแรงกดดันนี้ทำให้พุทธบริษัทมี ความตื่นตัวและปฏิรูปพระพุทธศาสนาเพื่อความอยู่รอดดังนี้ 1. สร้างโรงเรียนขึ้นในวัดใหญ่ๆ บางวัด และสร้างวิทยาลัยอาชีวะชั้นสูงด้วย 2. สร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น โดยรวบรวมทุนจากวัดใหญ่ๆ หลายวัด หรือ รวบรวมทุนระหว่างนิกาย เช่น นิกายเซ็นได กับนิกายชิน มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นที่สร้างโดย ทุนของพระพุทธศาสนายุคนั้นมี 13 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยโอตานิ 3. บำเพ็ญงานด้านสาธารณกุศล ด้วยการสร้างโรงพยาบาล สถานสงเคราะห์คน ทุพพลภาพ สถานสงเคราะห์เยาวชน องค์กรจัดหางานให้แก่คนตกงาน วัดใหญ่ๆ หลายวัดรวม ทุนกันสร้างบริษัทการค้า โรงงานอุตสาหกรรม เมื่อ เมื่อได้กำไรมาแล้วก็นำมาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ ของพระพุทธศาสนา 4. ส่งเสริมการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก คือ ฉบับไทโช ตีพิมพ์หนังสือพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ปีละหลาย ล้านเล่ม ความรู้ทางพระพุทธศาสนาของญี่ปุ่นจึงก้าวหน้ามาก เมื่อมีการปฏิรูปเช่นนี้ ทำให้ฐานะพระพุทธศาสนาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนรัฐบาลไม่กล้า แตะต้องกิจการภายใน ในที่สุดการคุกคามพระพุทธศาสนาจึงยุติไปโดยปริยาย และหลังจาก สมัยเดียวกับรัชกาลที่ 5 ของไทย 138 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More