นิพพานและพระโพธิสัตว์ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 98
หน้าที่ 98 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงนิพพานและบทบาทของพระโพธิสัตว์ในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ โดยมีการอธิบายถึงบารมี 6 ประการ เพื่อบรรลุพุทธภูมิและการประพฤติตามโพธิสัตวมรรค ซึ่งมีทั้งทานบารมี, ศีลบารมี, ขันตินบารมี, วิริยบารมี, ฌานบารมี, และปัญญาบารมี พร้อมทั้งอัปปมัญญา 4 และมหาปณิธาน 4 ที่เป็นคุณสมบัติสำคัญของพระโพธิสัตว์

หัวข้อประเด็น

-นิพพาน
-พระโพธิสัตว์
-บารมี 6
-โพธิสัตวมรรค
-อัปปมัญญา 4
-มหาปณิธาน 4
-พุทธศาสนาในอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นิพพานกับบรรดามวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ มีอำนาจพิเศษที่สามารถจะ ช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้มากๆ ถึงแม้ว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายล้วนตั้งความปรารถนาที่จะบรรลุพุทธภูมิให้จงได้ แต่ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่ขอเข้านิพพานในทันที จะต้องประพฤติตามหลักคำสอนที่เรียกว่า โพธิสัตวมรรค ไปจนกว่าจะบรรลุพุทธภูมิ คือ 1) บารมี 6 หมายถึง คุณธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือความสำเร็จต่าง ๆ ที่บุคคลได้ตั้ง จุดมุ่งหมายเอาไว้ ซึ่งต้องบำเพ็ญให้ยิ่งยวดตราบเท่าที่ยังมิได้บรรลุพุทธภูมิ เพื่อช่วยเหลือ สรรพสัตว์ ดังนั้นทางฝ่ายมหายานจึงย่อบารมี 10 หรือทศบารมีในฝ่ายเถรวาท ลงเหลือเพียง บารมี 6 คือ - ทานปารมิตา หรือทานบารมี พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อ สัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย ศีลปารมิตา หรือศีลบารมีพระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบด้วยอินทรีย์สังวร ศีล กุศลสังคหศีล ข้อนี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สรรพสัตว์ทุกกรณี สัตว์สังคหศีลคือการ ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ กษานติปารมิตา หรือขันติบารมี พระโพธิสัตว์ต้องสามารถอดทนต่อสิ่งกดดัน เพื่อโปรดสัตว์ได้ - วิริยปารมิตา หรือวิริยบารมี พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อย- หน่ายระอาในการช่วยสัตว์ ธยานปารมิตา หรือฌานบารมี พระโพธิสัตว์จะต้องสำเร็จในฌานสมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลนเพราะเหตุแห่งอารมณ์ - - ปรัชญาปารมิตา หรือปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในบุคคลศูนยตา และธรรมศูนยตา 2) อัปปมัญญา 4 คือ การอบรมจิตให้มีคุณสมบัติอันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทำให้คุณสมบัติเหล่านี้แผ่ไปในสรรพสัตว์ทั้งปวงไม่มีประมาณ 3) มหาปณิธาน 4 คือ ความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคงซึ่งพระโพธิสัตว์จะต้องมี คือ จะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 89
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More