บทบาทของปัญญาชนชาวเยอรมันในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 205
หน้าที่ 205 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการมีส่วนร่วมของปัญญาชนชาวเยอรมันในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในส่วนของการตั้งชมรมศึกษาและรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา การอุปสมบทของซิกมันด์ เฟนิเกอร์และการเข้าร่วมประชุมใหญ่ทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงพระภิกษุและนักวิชาการอื่นๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ เช่น ดร.ปอล ดาห์ลเก และวิลเฮลม์ ไกเกอร์ ซึ่งทำการจัดทำคัมภีร์และเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังหลายประเทศทั่วโลก

หัวข้อประเด็น

-บทบาทปัญญาชนชาวเยอรมัน
-การอุปสมบทและการตั้งชมรมศึกษา
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุโรป
-ผลงานของนักวิชาการเยอรมัน
-บทบาทของเยอรมันในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไว้เหนือเตียงนอน และพร่ำพรรณนาคุณความดีของเค.อี.นูมานน์ และดร.ปอล ดุสเซน ผู้ให้ ความช่วยเหลือแก่เขาในการศึกษาพระพุทธศาสนาอยู่เสมอไม่ขาด พระภิกษุชาวเยอรมันอีกท่านหนึ่งชื่อ ซิกมันด์ เฟนิเกอร์ (Siegmund Feniger) ได้ อุปสมบทเป็นพระภิกษุในประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ.2479 ได้รับฉายาว่า ญาณโปนิกะ เป็น ศิษย์ของพระญาณสัตตมหาเถระ ซิกมันด์ เฟนิเกอร์ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจากการอ่าน หนังสือ เขาได้จัดตั้งชมรมการศึกษาพระพุทธศาสนา (Buddhist Study Circle) และจัดตั้ง ห้องสมุดพระพุทธศาสนาขึ้นที่โกนิกสเบอร์กโดยให้ประชาชนยืมหนังสืออ่านฟรี หลังจาก อุปสมบทแล้วได้เดินทางมาร่วมกระทำฉัฏฐมสังคายนาที่ประเทศพม่าในสมัยที่อนุเป็นนายก รัฐมนตรีได้รับคัดเลือกให้เป็นรองประธานคนหนึ่งขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist) พระญาณโปนิกมหาเถระ (Nyanponika Maha Thera) จัดตั้ง สมาคมการพิมพ์หนังสือพระพุทธศาสนาในเมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา โดยดำรงตำแหน่ง บรรณาธิการและประธานตรวจการพิมพ์ของสมาคม พิมพ์หนังสือ จุลสาร แปลคัมภีร์พระพุทธ ศาสนาเถรวาท และเอกสารทุกประเภทเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา จำนวน 1,000,000 เล่ม ส่งไปเผยแพร่ 70 ประเทศทั่วโลก ปราชญ์ชาวพุทธเยอรมันที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีอีกหลายท่าน เช่น เฮอร์มานน์ โอลเดนเบอร์ก (Hermann Oldenburg) บุตรชายนักบวชคริสต์นิกายโปรเตส แตนท์ เป็นคนแรกที่จัดทำเรื่องเถรคาถาและเถรีคาถาเผยแพร่แก่ชาวยุโรป ดร.ปอล ดาห์ลเก (Paul Dahlke) ผู้ที่อนาคาริก ธรรมปาละ กล่าวยกย่องว่า รักษาศีล 5 เคร่งครัด ไม่ยอมให้ ด่างพร้อย ปฏิบัติหน้าที่ไม่บกพร่อง เป็นนักมังสวิรัติ ไม่ดื่มสุราเมรัย ยากนักหนาที่จะหาชาวพุทธ ที่ดีไปกว่าดร.ปอล ดาห์ลเก นอกจานี้ก็มี วิลเฮลม์ ไกเกอร์ (Wilhelm Geiger) ผู้จัดทำคัมภีร์ และแปลคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นผลงานชั้นยอดเยี่ยมของนิรุกติศาสตร์เชิงวิพากษ์ โดย พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.2451 - 2473 และนางมายา เกลเลอร์ กริมม์ (Maya Keller Grimm) ผู้แต่งหนังสือปุจฉา-วิสัชนาเรื่องพระพุทธศาสนา นางเป็นผู้ศรัทธาลึกซึ้งต่อพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่เยาว์วัย น้ำตาของนางจะไหลอาบแก้มทุกครั้งเมื่อได้อ่านมหาปรินิพพานสูตร เพราะ อาลัยรักในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับพระพุทธศาสนามหายานในเยอรมนี เริ่มต้นจากนิกายเซน หลังจากที่ ดร.ดี ที ซูสุกิ ทำให้เซนเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกแล้ว ในประเทศเยอรมนี ศาสตราจารย์ยูเอ็น เฮอริ เกล (Eugen Herrigel) ก็ทำให้ชาวเยอรมันและชาวตะวันตกรู้จักเซนมากขึ้นผ่านงานเขียนชิ้น 196 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More