การปกครองและความเชื่อในสมัยพุทธกาล GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 52
หน้าที่ 52 / 249

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพุทธกาล แบ่งการปกครองออกเป็น 21 แคว้น รูปแบบมีแบบจักรวรรดินิยม สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และประชาธิปไตย เศรษฐกิจดี มีมหาเศรษฐีหลายคน นอกจากนี้ ยังมีสมณพราหมณ์ 6 ท่านที่มีชื่อเสียงและคำสอนต่างจากพระพุทธเจ้าหลายเอกลักษณ์ เช่น นิครนถนาฏบุตรซึ่งมีบางคำสอนคล้ายกัน ก่อนทรงผนวช เจ้าชายสิทธัตถโพธิสัตว์ทรงมีความรู้มากมายซึ่งช่วยในการสั่งสอน ผู้ปฏิบัติสามารถพิสูจน์ธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้ บุคลิกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าช่วยดึงดูดพราหมณ์หลายคนที่ไม่พอใจกับคำสอนที่ขัดแย้งกันของตนเอง

หัวข้อประเด็น

- การปกครองในสมัยพุทธกาล
- สมณพราหมณ์และคำสอน
- เจ้าชายสิทธัตถโพธิสัตว์
- การเปลี่ยนแปลงความเชื่อในสังคมอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. การปกครองในสมัยพุทธกาล แบ่งออกเป็นแคว้นใหญ่ได้ 16 แคว้น และแคว้นเล็ก อีก 5 แคว้น รวมเป็น 21 แคว้น โดยรูปแบบการปกครองมี 3 แบบคือ แบบจักรวรรดินิยม แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และแบบประชาธิปไตย ส่วนเศรษฐกิจโดยรวมในสมัยพุทธกาลมี สภาพดีมาก เพราะมีมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สมบัติมหาศาลมากมายหลายท่าน 2. ในสมัยพุทธกาลมีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ จำนวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ ยอมรับของมหาชนมีอยู่ 6 ท่าน คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร ในเจ้าลัทธิทั้ง 6 ท่านนี้ มีเพียงนิครนถนาฏบุตร เท่านั้นที่มีคำสอนบางอย่างใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนา ส่วนอีก 5 ท่าน มีคำสอนต่างจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะสัญชัยเวลัฏฐบุตร มีคำสอนกลับกลอก เอาแน่นอนไม่ได้ ไม่สามารถบัญญัติอะไรตายตัวได้ พูดซัดส่ายเหมือนปลาไหล 3. ก่อนเจ้าชายสิทธัตถโพธิสัตว์จะเสด็จออกผนวช ทรงมีความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการนำมาประยุกต์กับธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้ เพื่อการปกครอง คณะสงฆ์และสั่งสอนเวไนยสัตว์ 4. สาเหตุสำคัญที่พราหมณ์ทั้งหลายในสมัยพุทธกาลละทิ้งความเชื่อเดิมที่สืบทอดกันมา หลายพันปี แล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนามีหลายประการที่สำคัญที่สุดคือ คำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสัจธรรมอันจริงแท้แน่นอนที่ผู้ปฏิบัติสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง ในยุคนั้นมีผู้ปฏิบัติจนเข้าถึงธรรมเป็นพระอริยบุคคลมากมาย ซึ่งสามารถเป็นพยานยืนยัน คำสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เหล่าพราหมณ์ให้การยอมรับในบุคลิกของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงมีกายมหาบุรุษจึงตั้งใจฟังคำสอนของพระองค์ พุทธวิธีสอนธรรมก็มี ส่วนอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนในสังคมอินเดีย พระองค์ทรงสอนโดยยึด ตามจริตผู้เรียน หรือในปัจจุบันเรียกว่าสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) อีก ประการหนึ่ง คำสอนของเหล่าพราหมณ์อาจารย์มีความขัดแย้งกันเอง จึงทำให้พราหมณ์ จำนวนไม่น้อยเสื่อมศรัทธาหันมานับถือพระพุทธศาสนา สังคม อินเดีย ส มั ย พุ ท ธ ก า ล DOU 43
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More