การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบต GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 152
หน้าที่ 152 / 249

สรุปเนื้อหา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบตเริ่มต้นจากพระเจ้าธริซอง เดทเซน ที่นิมนต์พระนิกายสรวาสติวาทแล้วคัดเลือกชาวทิเบตให้บรรพชา ในปี พ.ศ.1577-1581 ได้พระทีปังกรศรีชญาณมาช่วยปฏิรูปและก่อตั้งนิกายลามะ การแปลคัมภีร์และสร้างวัดส่งเสริมให้พระพุทธศาสนายิ่งรุ่งเรือง โดยเฉพาะการสร้างนิกายเกลุกเพื่อรักษาวินัยของพระสงฆ์ มีการรวบรวมคัมภีร์เป็นพระไตรปิฎกจนถึงปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-การบรรพชาอุปสมบท
-นิกายลามะ
-การสนับสนุนจากกษัตริย์
-การก่อตั้งวัด
-การศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ พระเจ้าธริซอง เดทเซนยังนิมนต์พระนิกายสรวาสติวาทมา 12 รูป แล้ว คัดเลือกชาวทิเบตให้มาบรรพชาอุปสมบท 5 คน ต่อมามีชาวทิเบตอีก 300 คน ทั้งชายและหญิง มาบรรพชาอุปสมบทด้วย พระเจ้าธริซอง เดทเซนทรงตรากฎหมายให้มีการสนับสนุนด้านต่าง ๆ แก่พระภิกษุสามเณร จึงเป็นการวางรากฐานอันมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนา พระเจ้าธริ รัลปาเชน (พ.ศ.1409-1444) ครองราชย์เป็นกษัตริย์ทิเบตพระองค์ ต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ถึงกับสยายพระเกศารองเป็นอาสนะ ให้พระสงฆ์นั่งล้อมแสดงธรรมถวายพระองค์ ทรงแต่งตั้งชาวพุทธให้ดำรงตำแหน่งทางราชการ เป็นจำนวนมาก และมีการลงโทษผู้ที่ไม่มีเคารพพระสงฆ์ด้วย ทำให้พวกลัทธิบอนหรือผู้ที่เสีย ผลประโยชน์ไม่พอใจมาก ด้วยเหตุนี้พว นี้พวกนี้จึงลอบปลงพระชนม์พระองค์เสีย พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมายาวนานเพราะได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ทุกพระองค์ ที่ผ่านมา แต่เมื่อพระเจ้าลัง ดาร์ม่า (พ.ศ. 1444-1449) ขึ้นครองราชย์ พระองค์นับถือลัทธิบอน จึงพยายามทำลายพระพุทธศาสนา บังคับให้พระสงฆ์ลาสิกขา พระภิกษุต้องหลบออกไปอยู่ใน ชนบท ภิกษุรูปหนึ่งอดรนทนไม่ไหวจากการกระทำของพระองค์ จึงแต่งตัวด้วยชุดดำ สวม หมวกสีดำเข้าไปปะปนกับชาวเมือง แล้วลอบปลงพระชนม์พระเจ้าลัง ดาร์ม่าเสีย ต่อมาในปี พ.ศ.1577-1581 ทิเบตได้อาราธนาพระทีปังกรศรีชญาณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวิกรมศิลาแห่งอินเดีย ให้มาช่วยปฏิรูปพระพุทธศาสนาและก่อตั้งนิกายลามะ (Lamaism) ในทิเบต พุทธศตวรรษที่ 16 นี้มีการส่งคนไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ มหาวิทยาลัยนาลันทามาก มีการแปลคัมภีร์เป็นภาษาทิเบต สร้างวัด และนิมนต์นักปราชญ์ อินเดียไปทิเบตหลายท่าน ทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ท่านตสองขะปะได้สร้างวัดกันดัน ใกล้กับลาซาและตั้ง นิกายเกลุกหรือนิกายหมวกเหลืองขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติวินัยให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพราะลามะในนิกายเนียงม่าส่วนมากเลอะเทอะมีลูกมีเมียในวัด แต่นิกายเกลุกห้ามเด็ดขาด นอกจากนี้ท่านยังรวบรวมคัมภีร์ที่ได้แปลเป็นภาษาทิเบตขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือ พุทธพจน์ 100 เล่ม และอรรถกถา 225 เล่ม คัมภีร์เหล่านี้เรียกว่า พระไตรปิฎก หรือคัมภีร์พระพุทธ ศาสนาฉบับทิเบต ซึ่งได้ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ลูกศิษย์ของท่านตสองขะปะได้สร้างวัดใหญ่ขึ้น คือ วัดเซรา วัดไคปุง และวัดตชิลุมโป และที่สำคัญ ท่านตสองขะปะยังเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการ สืบทอดอำนาจโดยการกลับชาติมาเกิดด้วย พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย DOU 143
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More