ความเปลี่ยนแปลงในศาสนาพราหมณ์และการแสวงหาโมกษะ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 44
หน้าที่ 44 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงในศาสนาพราหมณ์จากการเน้นพิธีบูชายัญสู่การเข้าใจในโมกษะผ่านการบำเพ็ญตบะในยุคอุปนิษัท โดยเน้นบทบาทของสันยาสีและการแสวงหาความสันโดษเพื่อความสุขทางจิตวิญญาณ การเกิดนักคิดอิสระที่ปฏิเสธคัมภีร์พระเวท และการเชื่อมต่อระหว่างลัทธิศาสนาใหม่และดั้งเดิม ในนั้นรวมถึงความแตกต่างระหว่างพราหมณ์สองประเภท.

หัวข้อประเด็น

-ระบบศาสนาพราหมณ์
-อุปนิษัท
-การแสวงหาโมกษะ
-ปรัชญาอินเดีย
-นักคิดอิสระ
-ลัทธิความเชื่อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาชีพอยู่เป็นครอบครัวได้ตามปกติ ส่วนช่วงสันยาสี (ผู้แสวงหาโมกษะ) นั้น เป็นช่วงชีวิตที่ ใครจะเลือกจะเลือกหรือไม่เลือกก็ไม่มีผลต่อความพ้นทุกข์เพราะความพ้นทุกข์ขึ้นอยู่กับการ บูชายัญเป็นหลัก แต่ครั้นมาถึงยุคอุปนิษัท ระบบโครงสร้างทางศาสนาอันได้แก่คำสอนและการปฏิบัติ ของศาสนาพราหมณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยมุ่งเน้นการเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดจาก ภายนอกโดยอาศัยการประกอบพิธีบูชายัญเป็นหลัก ก็เปลี่ยนมาเป็นการเข้าถึงพรหมันตาม หลักปรัชญาในคัมภีร์อุปนิษัท อาศัยการบำเพ็ญตบะหรือบำเพ็ญโยคะอย่างยิ่งยวด ละทิ้ง ทุกอย่างเพื่อให้เข้าถึงพรหมัน เพราะเห็นว่า การบูชายัญนั้นเพียงช่วยให้ไปสวรรค์ได้ แต่ก็ยัง ไม่อาจช่วยให้บรรลุโมกษะเข้าถึงพรหมมันได้เลย ดังนั้น ในยุคอุปนิษัท ความสำคัญของพราหมณ์ในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรมเริ่มลดลง ช่วงสันยาสีหรือช่วงชีวิตสุดท้ายที่มุ่งแสวงหาโมกษะกลับได้รับการยกย่องมากเป็นพิเศษ และ ยังเชื่ออีกว่าการเข้าสู่ช่วงสันยาสีนั้นจะเริ่มต้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอายุมาก หรือมีลูกหลานก่อนตามแบบเดิม แนวคิดดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดการเติบโตและแผ่ขยายของลัทธิ ถือพรตอยู่ป่า ปลีกตัวจากโลกภายนอก ไม่มีชนชั้นวรรณะ และมุ่งความสันโดษและแสวงหา ความสุขทางจิตวิญญาณ แนวคิดและระบบปรัชญาอินเดีย 2 สาย สมัยที่ปรัชญาอุปนิษัทเกิดขึ้น เป็นยุคที่ใกล้กับพุทธกาลมากแล้ว เป็นยุคที่นักคิดชาว อินเดียเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ไม่ผูกพันกับระบบประเพณีดั้งเดิมซึ่งถ่ายทอดกันมาแต่ สมัยพระเวท เพราะฉะนั้นจึงมีนักคิดอิสระที่มีความคิดแหวกแนวออกไปจากระบบประเพณี ดั้งเดิมของพระเวทออกไป พวกนักคิดอิสระที่พากันปฏิเสธคัมภีร์พระเวทมีอยู่หลายกลุ่ม ในพระไตรปิฎกได้ กล่าวถึงชื่อ อาชีวก ปริพาชก นิครนถ์ ลัทธิครูทั้ง 6 ท่านเหล่านี้ล้วนแต่เป็นนักคิดอิสระที่แยก ตัวออกมาจากพราหมณ์ผู้นับถือพระเวททั้งสิ้น ดังนั้น ยุคนี้จึงเป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างลัทธิความเชื่อสองสาย คือ ลัทธิศาสนา พราหมณ์ที่ยังคงยึดมั่นอยู่ในคัมภีร์พระเวท กับลัทธิศาสนาใหม่ๆ ที่ปฏิเสธคัมภีร์พระเวท * พราหมณ์มี 2 ประเภท คือ (1) พราหมณ์ที่ยังมีบุตรภรรยา เรียกว่า คฤหบดีพราหมณ์ และ (2) พราหมณ์ที่ สละทรัพย์สมบัติออกไปบำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ตามลำพัง เรียกว่า สมณพราหมณ์ * สุมาลี มหณรงค์ชัย, ฮินดู-พุทธ จุดยืนที่แตกต่าง, 2546 หน้า 31 สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More