ข้อความต้นฉบับในหน้า
พ.ศ.2476 ไปประเทศพม่า พ.ศ.2482 ไปประเทศไทย และพ.ศ.2483 ไปประเทศศรีลังกา
โดยมีเป้าหมายเพื่อปลุกเร้าประชาชนพม่า ไทย และศรีลังกา ให้สนใจพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น
กว่าที่เป็นอยู่ในช่วงเวลานั้น
6.2.6 ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States of America) มีประชากรประมาณ
300,080,997 คน (พ.ศ.2549) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 76.7%) ส่วนที่เหลือ
ประมาณ 24.3% นับถือศาสนาอื่นหรือไม่มีศาสนา จากสำรวจของ Pew Research Center
ในปี พ.ศ.2547 พบว่ามีประชากรที่ไม่มีศาสนา (Non-Religious) อยู่ถึง 18.5% (อายุ<30 =
12.5%,อายุ>30 = 6%) คิดเป็น 55,514,984 คน ประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด
คนที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ 55,514,984 คน นี้เกือบเท่ากับประชากรในประเทศไทยทั้ง
ประเทศ คือ 60 กว่าล้านคน และจากข้อมูลใน Wikipedia ระบุว่าในปี พ.ศ.2539 มีการสำรวจ
ความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐเมริกา 1,000 คน เรื่องเกี่ยวกับพระเจ้า มีนักวิทยา
ศาสตร์อยู่ถึง 60.7% ที่ไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า (Atheists) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
เรื่อย ๆ สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นจากรายงานของ The U.S. State Department's International
Religious Freedom ในปี พ.ศ.2547 ระบุว่า มีอยู่ประมาณ 1% หรือประมาณ 3,000,000 คน
ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนามหายานนิกายเซนและทิเบต
จุดเริ่มต้นที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา มาจากผลแห่ง
ชัยชนะของพระพุทธศาสนาในการโต้วาที่ท่ามกลางมหาชนครั้งสำคัญ ณ ปานะทุระ ประเทศ
ศรีลังกา ในปี พ.ศ.2416 ระหว่างพระมีเคตตุวัตเต คุณานันทเถระ กับคณะบาทหลวงคริสต์
ซึ่งมีบาทหลวงเดวิด เดอ ซิลวา เป็นหัวหน้าคณะ หนังสือพิมพ์ The Time of Ceylon พาดหัวข่าว
ว่า พระมีเคตตุวัตเต คุณานันทเถระเพียงรูปเดียว ได้เผชิญหน้ากับบาทหลวงชั้นนำของศาสนา
คริสต์ และมีชัยต่อปรปักษ์อย่างงดงาม ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ นำคำโต้วาทีไปพิมพ์เผยแพร่
ซ้ำแล้วซ้ำอีกในสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวอเมริกันเกิดความสนใจและหันมาเลื่อมใสศรัทธาใน
พระพุทธศาสนาจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ พันเอกเฮนรี่ สตีล โอลคอตต์ ในปี พ.ศ.2423
เขาและมาดามเอช.พี.บลาวัตสกี เดินทางไปประเทศศรีลังกาเพื่ออุทิศชีวิตฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
พันเอกเฮนรี่ สตีล โอลคอตต์ แต่งหนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชชนาทางพระพุทธศาสนา
* Wikipedia the free encyclopedia. (2549). Buddhism in the United States. (ออนไลน์)
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก
DOU 211