การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียและทั่วโลก GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 239
หน้าที่ 239 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียหลังจากที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนพุทธศาสนิกชน การที่ชาวพุทธจากประเทศต่าง ๆ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการรักษาพระศาสนา พร้อมกับข้อคิดสำคัญในการธำรงพระพุทธศาสนา 2 ประการ ได้แก่ การเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง และการไม่ปล่อยให้เกิดภัยกับพระพุทธศาสนา โดยมีบทบาทที่สำคัญของพุทธบริษัท 4 ในการเผยแผ่คำสอนและต่อสู้กับภัยต่าง ๆ เพื่อรักษาเอาไว้

หัวข้อประเด็น

-ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
-บทบาทของชาวพุทธ
-การเผยแผ่คำสอน
-ความสำคัญของสมาธิภาวนา
-พุทธบริษัท 4

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ชาวพุทธในประเทศเหล่านี้ได้กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาใน อินเดียขึ้นใหม่ ปัจจุบันจำนวนพุทธศาสนิกชนในอินเดียเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อ ประเทศใดมีทีท่าว่าพระพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญด้วยภัยต่าง ๆ ก็จะได้รับความช่วยเหลือฟื้นฟู จากชาวพุทธประเทศต่าง ๆ หมุนเวียนกันไป ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงคงอยู่คู่โลกมาได้ ตราบกระทั่งปัจจุบัน จากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้ได้ข้อคิดที่ สำคัญในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา 2 ประการคือ 1. ชาวพุทธต้องเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง จะต้องศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อยังให้เกิดปฏิเวธคือการบรรลุธรรมในระดับต่าง ๆ หาก ชาวพุทธทำได้เช่นนี้ก็จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยได้อย่างถูกต้องลึกซึ้ง มีศรัทธามั่นคง ซึ่งส่งผลเป็นความมั่นคงของพระพุทธศาสนาด้วย เพราะไม่ว่าจะมีภัยใด ๆ เกิดขึ้น พุทธบริษัทก็จะยึดมั่นต่อพระสัจธรรมคำสอน ไม่หวั่นไหวผันแปรไปตามสิ่งที่มากระทบ จะรักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาสืบต่อไปแม้จะต้องแลกด้วยชีวิต 2. ชาวพุทธต้องไม่นิ่งดูดายเมื่อมีภัยเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา จะต้องถือหลักว่า “เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา แต่เรื่องพระศาสนาให้เอาอุเบกขาวาง” ต้องช่วยกันขจัดปัดเป่าภัยที่เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ให้ได้ และช่วยกันเผยแผ่พระธรรมคำสอนให้กว้างไกลไปทั่วโลก ทั้งนี้เพราะหากประเทศใดพระพุทธ ศาสนาเสื่อมลง ก็จะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอื่นที่ศาสนาพุทธยังคงรุ่งเรืองอยู่ การ เผยแผ่และการขจัดปัดเป่าภัยพระศาสนานี้เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัททั้ง 4 คือ พระภิกษุสามเณร อุบาสกและอุบาสิกา จะต้องช่วยกันทั้งหมดอย่าปล่อยให้เป็นภาระของพระภิกษุเพียงอย่างเดียว ใครอยู่ในเพศภาวะใดและมีทำหน้าที่อะไรก็ให้ทำหน้าที่นั้นให้สมบูรณ์ หากทำได้เช่นนี้ พระพุทธศาสนาก็จะมั่นคงสืบไปได้ยาวนาน 230 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More