ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในล้านนาและอยุธยา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 159
หน้าที่ 159 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนาในล้านนาและกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มตั้งแต่การก่อตั้งเมืองนวบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช และการบวชพระชาวเชียงใหม่ 500 รูป รวมถึงการสังคายนาพระไตรปิฎกที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้ศาสนาเข้มแข็งและบ้านเมืองมั่นคง ต่อมาได้กล่าวถึงพระเมืองแก้ว และพิธีบวชนาคหลวงครั้งใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการเจริญเติบโตของพระพุทธศาสนาในพื้นที่ ตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองในกรุงศรีอยุธยาและบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เช่น พระเจ้าอู่ทอง และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รวมถึงการสร้างวัดใหญ่และพิธีผนวชครั้งยิ่งใหญ่ ชี้ให้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติพระพุทธศาสนาในล้านนา
-การสังคายนาพระไตรปิฎก
-พิธีบวชนาคหลวงในล้านนา
-พระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยา
-บทบาทของมหากษัตริย์ในการส่งเสริมศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ขึ้นที่เชิงเขาเทวบรรพต (ดอยสุเทพ) ให้ชื่อว่า นวบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พระพุทธศาสนา สมัยนั้นเป็นนิกายเถรวาทเป็นหลัก ซึ่งมีความแพร่หลายเป็นศาสนาประจำท้องถิ่น ต่อมาเมื่อ พระเจ้าติโลกราชเสวยราชสมบัติระหว่างปี พ.ศ. 1985-2020 ยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญที่สุด ถือเป็นยุคทองของล้านนา ในปี พ.ศ. 1985 ทรงบวชพระชาวเชียงใหม่ 500 รูป ทรงสังคายนา พระไตรปิฎกที่ล้านนา ซึ่งถือเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ผลการสังคายนาครั้งนี้ทำให้ศาสนา เข้มแข็งและบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นขึ้น ต่อมาเมื่อพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานของพระเจ้าติโลกราชขึ้นครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ.2038-2068 มีพิธีบวชนาคหลวงครั้งใหญ่ครั้งแรกในล้านนาถึง 1,200 กว่ารูป สมัยล้านนาพระสงฆ์แตกฉานในคัมภีร์บาลีและแต่งตำราเป็นภาษาบาลีไว้มากกว่าสมัยใดๆ จำนวนคัมภีร์ที่แต่งไว้ไม่ต่ำกว่า 32 คัมภีร์ ตำราบางเล่มยังใช้เป็นหลักสูตรของคณะสงฆ์มาถึง ปัจจุบัน เช่น มังคลัตถทีปนี ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น แม้แต่บทสวดพาหุง ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็แต่งในยุคนี้ พระลังกาก็นำไปใช้สวดจนถึงปัจจุบันเช่นกัน อาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 1893 ซึ่งขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงและในที่สุดได้เป็นเมือง ขึ้นของอยุธยาในปี พ.ศ. 1921 กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี มีกษัตริย์ ปกครองสืบต่อกันมาถึง 33 พระองค์ อยุธยาเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ดังคำกล่าวว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัดวาอาราม ปราสาท พระราชวัง ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุมากมาย พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดขึ้น 2 วัด คือ วัดพุทธไธศวรรย์ และวัดใหญ่ชัยมงคล พระพุทธ ศาสนาเจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่ง กรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.1991-2031 ทรงสร้างวัดและบูรณะวัดต่างๆ มากมาย ในปี พ.ศ.2008 พระองค์เสด็จออกผนวช มีข้าราชการและบรมวงศานุวงศ์ออกบวช ตามมากถึง 2,388 คน ซึ่งเป็นประดุจดั่งการออกบวชของพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายในอดีต ครั้นถึงรัชกาลพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระพุทธรูปสูงใหญ่ชื่อ พระศรีสรรเพชญ์ ด้วยทองคำหนัก 53,000 ชั่ง แล้วหุ้มด้วยทองคำอีก 286 ชั่ง หรือ 22,880 บาท หลังจาก สมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พระพุทธศาสนาก็ได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์เรื่อยมา กระทั่งถึงรัชกาลของพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์องค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ในปี พ.ศ.2153 ก่อนเสวยราชสมบัติพระองค์เคยออกผนวช เป็นผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อ 150 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More