ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประจักษ์พยาน มิใช่การเผาทำลายครั้งเดียว แต่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ใช่แต่เพียงมุสลิม
เท่านั้นที่ทำลายล้างพระพุทธศาสนา ในเวลาเดียวกัน ศาสนิกและพวกโยคีของฮินดู ก็ฉวย
โอกาสนี้ซ้ำเติมให้หนักขึ้นไปอีก ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะว่าพระพุทธศาสนาได้เคยเป็นคู่แข่ง
สำคัญที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกับศาสนาฮินดูมาแต่ต้น การทำลายล้างยังไม่หยุดยั้ง บริเวณที่ถูกทำลาย
มากที่สุดคือแคว้นอุตตรประเทศ และแคว้นพิหารอันเป็นแหล่งใหญ่ของพุทธศาสนา” พวก
มุสลิมพากันเข้าใจผิดว่ามหาวิทยาลัยนาลันทาคือป้อมปราการของชาวพุทธจึงได้เข่นฆ่าพระภิกษุ
ทุกรูปในวัด โดยการคิดว่าพระภิกษุเหล่านั้นคือทหาร มีพระภิกษุจำนวนน้อยมากที่รอดพ้น
จากกองทัพมุสลิม” พระพุทธศาสนาซึ่งขณะนั้นมีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำนวนน้อยที่รู้จริงใน
คำสอนของพระพุทธศาสนา ส่วนชาวพุทธทั่วไปนั้นขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้น
เมื่อพระภิกษุสงฆ์หมด พระพุทธศาสนาก็หมดจากประเทศอินเดียในที่สุด
ไม่น่าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด เมื่อกาลผ่านพ้นไป ก็ค่อย ๆ
ริบหรี่ลงด้วยแรงปะทะของศาสนาฮินดู ท้ายสุดเมื่อเข้าสู่ยุคมืด ก็ต้องมีอันปิดฉากลงด้วยกองทัพ
มุสลิมคลั่งศาสนา เหตุการณ์นี้นับเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนเจ็บปวดมากที่สุด
จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในอินเดียดังกล่าว เราอาจสรุปได้ว่า ความมั่นคงของพระพุทธ
ศาสนาจะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญคือ ชาวพุทธต้องเป็นชาวพุทธที่แท้จริง มีความรู้
ความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง โดยต้องศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติเพื่อ
ให้เกิดปฏิเวธ คือผลของการปฏิบัติ นำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตจริง และปัจจัยที่
สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ ชาวพุทธจะต้องมีความสามัคคีกัน เว้นจากการให้ร้ายกัน
พระพุทธศาสนาจึงจะมั่นคงอยู่ได้อย่างแท้จริง
กิจกรรม
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 4 พระพุทธศาสนาในอินเดียหลังยุคพุทธกาล จบโดยสมบูรณ์แล้ว
โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 4 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 4
แล้วจึงศึกษาบทที่ 5 ต่อไป
- เสถียร พันธรังษี, พุทธสถานในชมพูทวีป, 2525 หน้า 131
* ดี.ซี. อหิระ, สาเหตุความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดีย, 2542 หน้า 74
Mayeda, Sengaku. History of Indian Philosophy, 1991 p.187
106 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา