ข้อความต้นฉบับในหน้า
ติมอร์ตะวันออก ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบันคือ ไทย เวียดนาม
ลาว กัมพูชา และพม่า ส่วนประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน จะนับถือศาสนาอิสลาม
เป็นหลัก ประเทศฟิลิปปินส์ และติมอร์ตะวันออก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกล่าวถึงประเทศที่สำคัญ ๆ
6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า และเวียดนาม ดังต่อไปนี้
1. ประเทศไทย
ประเทศไทยมีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) ปัจจุบัน
(พ.ศ.2549) ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ก่อนหน้านี้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ไทยมีประชากรประมาณ 62,418,054 คน
(พ.ศ.2548) โดย 95% นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท 3% นับถือศาสนาอิสลาม และอีก 2%
นับถือศาสนาคริสต์
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ไทยในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชประมาณปี พ.ศ.236 โดย
พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นผู้นำมาเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิ ซึ่งในขณะนั้นอาณาจักรไทย
รวมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิด้วย สุวรรณภูมิ แปลว่า แผ่นดินทองคำ ปัจจุบันยังชี้ชัดไม่ได้ว่า
สุวรรณภูมิอยู่ตรงไหน นักโบราณคดีมีทัศนะแตกต่างกัน 4 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. นักโบราณคดีกลุ่มอินเดีย 90% เชื่อว่า สุวรรณภูมิ คือ แหลมมลายู ประกอบด้วย
ดินแดนส่วนใต้สุดของพม่า ภาคใต้ของไทยทั้งหมด คาบสมุทรมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์
ประวัติพื้นเมืองกล่าวไว้ว่า สมัยโบราณย่านนี้มีทองคำมาก เล่นพนันกันโดยเอาทองออกประกัน
ชนไก่ก็เอาทองเท่าตัวไก่เป็นเดิมพัน
2. กลุ่มอินเดีย 10% เชื่อว่า สุวรรณภูมิ คือ ริมทะเลด้านตะวันออกของอินเดียใต้
3. กลุ่มพม่าเชื่อว่า สุวรรณภูมิ ได้แก่ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศพม่า
4. กลุ่มไทยเชื่อว่า ศูนย์กลางสุวรรณภูมิอยู่ที่จังหวัดนครปฐม
อย่างไรก็ตาม สุวรรณภูมิมีขอบเขตกว้างขวาง สิริวัฒน์ คำวันสา กล่าวไว้ว่า มีชนเผ่า
ต่าง ๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เช่น มอญ พม่า ละว้า มลายู และขอม เป็นต้น
1 สิริวัฒน์ คำวันสา, ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, 2542 หน้า 12-16
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย
DOU 147