หลัทธิใหญ่ในปรัชญาอินเดีย GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 46
หน้าที่ 46 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงหลักทรรศนะ 6 แห่งปรัชญาอินเดีย ได้แก่ เวทานตะ ซึ่งก่อตั้งโดยฤาษีพาทรายณะ มุ่งเน้นไปที่ความจริงสูงสุดของอาตมันและปรมาตมัน และลัทธินยายะ โดยฤาษีโคตมะ ที่เน้นการใช้ตรรกะและเหตุผลในการค้นหาความจริง พร้อมสอนหลักการต่างๆ ในการพัฒนาชีวิตให้หลุดพ้นจากทุกข์และวัฏจักรการเกิดใหม่ การวิจัยศาสนานี้ยังเผยให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในการคืนสู่สภาวะเดิมของชีวาตมัน

หัวข้อประเด็น

-หลัทธิเวทานตะ
-หลัทธินยายนะ
-อาตมันกับปรมาตมัน
-การหลุดพ้นจากทุกข์
-ปรัชญาอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พวกไวทิกวาทะนี้ต่อมาภายหลังก่อเกิดเป็น 6 ลัทธิใหญ่ เรียกว่า หลักทรรศนะ 6 (Six Darshanas) ประกอบด้วยลัทธิเวทานตะ นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ และมีนางสา ทรรศนะเหล่านี้มีรายละเอียดคำสอนต่างกันดังนี้ 1) ลัทธิเวทานตะ (Vedanta) ก่อตั้งโดยฤาษีพาทรายณะ ลัทธินี้สืบทอดมาจากการแตกยอดบทอุปนิษัทบทสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท ที่กล่าวถึงจุดสูงสุดแห่งการศึกษาหรือที่เรียกว่า เวทานตะ ตั้งปรัชญาความเชื่อว่า ความจริงแท้ (สัจธรรม) หรือความจริงอันสูงสุด หรืออันติมสัจจะ (Ultimate Reality) ของโลกและจักรวาล มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ พรหมัน หรือปรมาตมัน และชีวาตมัน หรืออาตมัน แต่เพราะเหตุที่ เราไม่รู้เท่าทันความจริงที่ว่า จิตของเราแต่ละคนเป็นอาตมัน เป็นอย่างเดียวกับจิตของพรหม คือ ปรมาตมัน คนเราจึงกระทำกรรมและถือกรรมต่าง ๆ เป็นตัวตนของเขา ดังนั้นจึงเวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในโลกนี้ เมื่อใดกำจัดอวิชชาหรือความไม่รู้ได้แล้ว อาตมันก็จะเข้าร่วมสถิตอยู่กับ ปรมาตมัน คนที่สำเร็จถึงขั้นนั้น สำเร็จถึงขั้นนั้นก็จะกลายเป็นพรหม 2) ลัทธินยายะ (Nyaya) ก่อตั้งโดยท่านฤาษีโคตมะ ลัทธินี้เน้นหนักไปในเรื่องการพิจารณาหาความจริงแบบตรรกะ (Logical Realism) ใช้ความคิดวิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์ความจริงในรูปแบบต่าง ๆ โดยเชื่อว่าความ จริงที่ยอมรับได้จะต้องอธิบายได้ด้วยหลักของเหตุผล สอนให้พิจารณาถึงความทุกข์ ความเกิด ความเคลื่อนไหวในระหว่างมีชีวิตอยู่และความสำนึกผิด สอนให้บุคคลเลิกละอกุศล ให้มีเมตตา ต่อกัน มีสัจจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ในที่สุดก็จะบรรลุความหลุดพ้นจากความทุกข์และ เครื่องผูกพันอันเกิดจากการสมาคมระหว่างชีวาตมันกับสสาร เพราะการสมาคมกันของ ชีวาตมันกับสสารทำให้ชีวาตมันหลงลืมภาวะดั้งเดิมของตัวเอง แล้วไปทำกรรมดีกรรมชั่ว ผลของการทำกรรมดีและชั่ว จึงทำให้ชีวาตมันเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏไม่รู้จบ เมื่อ คลี่คลายชีวาตมันออกจากสสารได้ ก็จะเป็นอิสระอย่างแท้จริง เป็นอิสรภาพสูงสุด เพราะ หลุดพ้นจากการเกิดการตาย และพ้นไปจากความทุกข์และความสุขตลอดกาล * คำว่า “ทรรศนะ” แต่เดิมหมายถึงทฤษฎีอธิบายแนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นจริงนั้นๆ ออกมา แต่ชาวตะวันตก ใช้คำว่า “ปรัชญา” * ดวงธิดา ราเมศวร์, 2 อารยธรรมยิ่งใหญ่แห่งอาเซียน อินเดีย-จีน, 2549 หน้า 47 * ประยงค์ แสนบุราณ, ปรัชญาอินเดีย, 2549 หน้า 152 สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 37
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More