ข้อความต้นฉบับในหน้า
การโต้วาทะจัดขึ้น 5 ครั้งด้วยกันในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2408 - เดือนสิงหาคม
พ.ศ.2416 ศาสนิกอื่นที่มาร่วมฟังหรือได้อ่านบทโต้วาทะจากหนังสือพิมพ์ในแต่ละครั้งนั้น หลาย
คนเสื่อมศรัทธาจากศาสนาเดิมของตนแล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนาหนึ่งในนั้นคือเฮนรี่สตีล
โอลคอตต์ (Henry Steele Olcott) เขาและมาดามเอช.พี.บลาวัตสกี ตัดสินใจเดินทางมา
ศรีลังกาในปี พ.ศ.2423 พอเหยียบแผ่นดินศรีลังกาที่ท่าเมืองกัลเล ทั้งสองได้ประกอบพิธี
ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะทันที ณ วัดวิชัยนันทะ จากนั้นได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
จัดตั้งโรงเรียนชาวพุทธขึ้น 400 โรงเรียนทั่วประเทศเพื่อแข่งขันกับโรงเรียนคริสเตียน
นอกจากนี้ยังมีชาวตะวันตกอีกหลายท่านมาศึกษาและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา
เช่น เอฟ.แอล.วูดวาร์ด (F.L.Woodward) บุตรของนักบวชนิกายโปรเตสแตนต์แห่งซาแฮม
ประเทศอังกฤษ เดินทางมาถึงศรีลังกาในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2446 ได้ช่วยสอนหนังสือที่
วิทยาลัยพระพุทธศาสนามหินทะ
ขณะนั้นวิทยาลัยมหินทะมีนักเรียนอยู่ 60 คน ศึกษากันอยู่ในอาคารเรียนเก่าๆ ของ
ชาวฮอลันดา เอฟ.แอล.วูดวาร์ด บริจาคเงินกว่า 2,000 ปอนด์ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนใหม่
เขาออกแบบอาคารเรียนเอง ควบคุมการก่อสร้างเอง และด้วยความทุ่มเทในการทำงาน
ต่อมาไม่นานนักเรียนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 300 คน วูดวาร์ดสอนนักเรียนวันละหลาย ๆ ชั้น รู้จักชื่อ
ศิษย์ทุกคนทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น นิสัยส่วนตัวของเขาเป็นคนเคร่งครัดในวินัยมาก เขาจึงปั้น
ศิษย์ด้วยวินัย เป็นเหตุให้วิทยาลัยเติบโตรวดเร็วมาก เขาทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ 16 ปี
โดยไม่รับเงินเดือน วูดวาร์ดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก จะถืออุโบสถศีลและสวมชุดขาว
ในวันพระจันทร์เพ็ญ จะนิมนต์พระมารับภัตตาหารที่วิทยาลัยปีละหลาย ๆ ครั้ง โดยเขาจะทำ
หน้าที่ล้างเท้าพระสงฆ์ที่ละรูปด้วยกิริยานอบน้อมอย่างยิ่ง
ด้วยการช่วยกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังของพุทธศาสนิกชนเหล่านี้ จึงทำให้
ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง และที่สำคัญปัจจุบันศรีลังกาเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาประจำชาติ
5.2.2 พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก
ประเทศในเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน ไต้หวัน มองโกเลีย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเป็นนิกายมหายาน โดยเริ่มต้นเผยแผ่จากอินเดียสู่จีน
1 พันเอก (พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์, เมธีตะวันตกชาวพุทธเล่ม 1, หน้า 110-116
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย
DOU 121