การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในตะวันตก GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 222
หน้าที่ 222 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการสนทนาระหว่างดร.ปอล คารุส และการเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญเซนจากญี่ปุ่นมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา โดยมีบทบาทสำคัญของดร.ดี ที ซูสุกิ ในการแปลคัมภีร์และการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวตะวันตก ดร.ปอล คารุส ยังได้เขียนหนังสือ "The Gospel of Buddha" ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อการรับรู้พระพุทธศาสนาในตะวันตก นอกจากนี้บทความยังกล่าวถึงการตอบโต้การโจมตีพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์ และความเชื่อมั่นในศาสนาคริสเตียนที่สามารถพัฒนาไปสู่ความจริงทางวิทยาศาสตร์และเป็นสากล โดยอิงจากหลักการของพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ดร.ปอล คารุส
-การเผยแพร่พระพุทธศาสนา
-ศาสนานิกายเซน
-บทบาทของดร.ดี ที ซูสุกิ
-ข้อความใน The Gospel of Buddha

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนาอื่นๆ ในกิจกรรมสัมมนาเขาได้มีโอกาสสนทนากับดร.ปอล คารุส (Dr.Paul Carus) ปราชญ์ พระพุทธศาสนาชาวอเมริกัน ดร.ปอล คารุสกล่าวกับเขาว่า ให้ช่วยส่งผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนา นิกายเซนซึ่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาที่สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ช่วยสอนชาวอเมริกัน ทั้งหลายให้มีความรู้ความเข้าใจในเซน หลังจากที่โซเยน ชากกลับไปที่ญี่ปุ่นแล้ว จึงได้ไปชวน ดร.ดี ที ซูสุกิ ศิษย์ของตน ซึ่งเป็นนักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยโตเกียว ต่อมาในปี พ.ศ.2440 ดร.ดี ที ซูสุกิก็ได้ไปทำงานร่วมกับดร.ปอล คารุส ที่มลรัฐอิลลินอยส์ ณ ที่นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้น ให้เขาแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนานิกายเซนและคัมภีร์อื่น ๆ อีกมากมายออกสู่สังคมตะวันตก ชาวตะวันตกโดยมากรู้จักเซนเพราะผลงานของเขา ดร.ปอล คารุส แม้จะเป็นบุตรของประมุขแห่งคริสต์ศาสนจักรปรัสเซียตะวันออกและ ตะวันตก แต่เขาก็มีความสนใจในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้เขียนหนังสือชื่อ The Gospel of Buddha ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของเขา จัดพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2437 ปรากกฏว่าขายดี มาก ในหนังสือตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “จงรื่นเริง ณ กระแสอันน่ายินดี พระพุทธเจ้า พระบรมครู ของเราได้ทรงค้นพบรากเหง้าของความชั่วร้ายทั้งมวล พระองค์ได้ตรัสชมรรคาความหลุดพ้น จากความทุกข์ให้แก่พวกเรา” หนังเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษา และนำไปสอน ในโรงเรียนชาวพุทธที่ศรีลังกาและญี่ปุ่นด้วย กาลใดพระพุทธศาสนาถูกโจมตี กาลนั้นดร.ปอล คารุส จะถาโถมเข้าปกป้องด้วยชีวิต เช่น ตอนที่เซอร์ มอร์เนียร์ มอร์เนียร์ วิลเลียมส์ (Sir Monier monier Williams) เขียนหนังสือโจมตีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้านั้นไร้คุณค่าเมื่อ เปรียบเทียบกับประทีปของโลกคือพระเยซู ดร.ปอล คารุสได้ตอบโต้กลับไปว่า หนังสือพระพุทธศาสนาของเซอร์ มอร์เนียร์ เป็น หนังสือชั้นเลว โดยความพยายามซ้ำและซ้ำอีกที่จะลดคุณค่าของพระพุทธเจ้าลงมาให้ไร้คุณค่า อย่างน้อยที่สุดพระพุทธเจ้าก็เป็นพระบรมครูผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดของโลกพระองค์หนึ่ง... ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างมั่นคงมากกว่าอดีตกาลเสียแล้วว่า ศาสนจักรคริสเตียนของพวกเรา ย่อมสามารถกลายเป็นศาสนาแท้จริงทางวิทยาศาสตร์เป็นศาสนาสากลตรงตามหลักตรรกวิทยา และมีความสำคัญสากลก็โดยการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมเป็นอย่างพุทธศาสนาเท่านั้น นอกจากพระนิกายเซนจากญี่ปุ่นแล้ว ชาวตะวันตกก็มีพระภิกษุเซนที่มีความสำคัญ ต่องานเผยแผ่พระศาสนาด้วย เช่น พระภิกษุชาวอังกฤษ ชื่อ เออร์เนสท์ ชินการุ ฮันท์ (Ernest Shinkaru Hunt) ซึ่งบวชในประเทศญี่ปุ่นปี พ.ศ.2467 ท่านได้ตั้งสถาบันพระพุทธศาสนาขึ้นที่ 1 พันเอก (พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์, เมธีตะวันตกชาวพุทธเล่ม 2, หน้า 190-192 พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก DOU 213
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More