การปกครองในแคว้นต่าง ๆ ในยุคพุทธกาล GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 55
หน้าที่ 55 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการปกครองในแคว้นต่าง ๆ ในยุคพุทธกาล โดยแคว้นที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ มคธ ที่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย แสดงถึงระบบการปกครองที่หลากหลาย มีประมุขคือราชาและสภา คำอธิบายยังรวมถึงรายชื่อแคว้น อาทิ อังคะ มคธ โกศล และอื่น ๆ การปกครองนี้ยังคงเป็นแบบเดิมจนถึงการได้รับเอกราชของอินเดียในปี พ.ศ. 2490 ที่รวมแคว้นต่าง ๆ เข้าเป็นประเทศเดียว

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์การปกครอง
-แคว้นในยุคพุทธกาล
-การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
-การปกครองแบบประชาธิปไตย
-การเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังได้รับเอกราช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แคว้นมคธยึดครองแคว้นอังคะ แคว้นโกศลยึดครองแคว้นสักกะและแคว้นกาสี เป็นต้น 2) แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้แก่ แคว้นที่ให้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองบ้าน เมืองขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่อาจทรงมอบหมายอำนาจนั้นให้พระบรมวงศานุ วงศ์หรือปุโรหิต ข้าราชบริพารไปปฏิบัติแทนได้ ประมุขของแคว้นเรียกว่า “ราชา” แคว้นต่างๆ โดยมากในสมัยนั้นปกครองด้วยรูปแบบนี้ 3) แบบประชาธิปไตย ได้แก่ แคว้นที่อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองมิได้ขึ้นอยู่กับ ประมุขแห่งแคว้นแต่เพียงผู้เดียว แต่จะมี “สภา” เป็นผู้กำหนดนโยบายและมีอำนาจตัดสินใจ เกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง สภาจะทำหน้าที่เลือกสมาชิกขึ้นมาคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่าย บริหารเรียกว่า “ราชา” ในสมัยโน้นเรียกการปกครองแบบนี้ว่า สามัคคีธรรม เช่น แคว้นมัลละ และแคว้นวัชชี การปกครองโดยแบ่งเป็นแคว้นและมีพระราชาเป็นผู้ปกครอง ได้สืบต่อกันมาจน กระทั่งอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2490 เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จึงยกเลิกระบบการ ปกครองแบบเดิม และรวมทุกแคว้นเข้าด้วยกันเป็นประเทศอินเดีย ตารางแคว้นต่างๆ ในยุคพุทธกาล ล่าดับ ชื่อแคว้น เมืองหลวง ผู้ปกครอง ที่ตั้งปัจจุบัน 1 อังคะ (Anga) จําปา พระเจ้าธตรัฏฐะ ภคัลปุระ รัฐเบงกอล 2 มคธ (Magadha) ราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสาร รัฐพิหาร 3 กาสี (Kasi) พาราณสี พระเจ้าพรหมทัตต์ รัฐอุตตรประเทศ 4 โกศล (Kosala) สาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศล รัฐอุตตรประเทศ 5 วัชชี (Vajji) เวสาลี คณะเจ้าวัชชีบุตร รัฐอุตตรประเทศ 6 มัลละ (Malla) ปาวา, กุสินารา คณะเจ้ามัลลกษัตริย์ รัฐอุตตรประเทศ 7 เจดี (Cheti) โสตถิวดี พระเจ้าอุปริจรา รัฐมัธยมประเทศ 8 วังสะ (Vamsa) โกสัมพี พระเจ้าอุเทน รัฐอุตตรประเทศ 9 กุรุ (Guru) อินทปัตถ์ พระเจ้าโกรัพยะ รัฐปัญจาบ 1 พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย, 2546 หน้า 20 2 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, เล่ม 13 ข้อ 439 หน้า 306-312 46 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More