นิกายพระพุทธศาสนามหายานในทิเบต GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 154
หน้าที่ 154 / 249

สรุปเนื้อหา

พระพุทธศาสนามหายานในทิเบตแบ่งออกเป็นนิกายหลัก 4 นิกาย ได้แก่ เนียงม่า กาจู สักยะ และเกลุก โดยมีแนวทางการสอนที่ต่างกันไป วัดโจคังเป็นที่มั่นทางศาสนาที่สำคัญ และพระราชวังโปตาลาเป็นศูนย์กลางความเชื่อที่มีความยิ่งใหญ่ ทั้งสองแห่งนี้มีความสำคัญต่อจิตวิญญาณของชาวทิเบต โดยเฉพาะการสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางไปแสวงบุญ การสวมหมวกและพฤติกรรมของพระในแต่ละนิกายก็มีความหมายทางการศาสนา สอนผ่านการปฏิบัติและการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

-นิกายพระพุทธศาสนาในทิเบต
-นิกายเนียงม่า
-นิกายกาจู
-นิกายสักยะ
-นิกายเกลุก
-วัดโจคัง
-พระราชวังโปตาลา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปัจจุบันพระพุทธศาสนามหายานในทิเบตเป็นแบบวัชรยาน หรือตันตระ โดยมีนิกาย สำคัญมี 4 นิกาย คือ เนียงม่า กาจู สักยะ และเกลุก 1. นิกายเนียงม่า ผู้ก่อตั้ง คือ คุรุปัทมสัมภวะ ท่านแบ่งคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็น นวยาน พระในนิกายนี้นิยมสวมหมวกสีแดง 2. นิกายกาจู อาจารย์ทุงโป ญาลจอร์ และมาร์ปะโชคี โลโด เป็นผู้ก่อตั้งโดยยึดหลัก คำสอนสายทั้ง 4 ของตันตระคือ กายมายา การสืบทอดวิญญาณ ความฝัน และแสงสว่าง บางครั้งนิกายนี้เรียกว่า นิกายหมวกดำ เพราะเวลาประกอบพิธีพระนิกายนี้นิยมสวมหมวกสีดำ 3. นิกายศากยะ ก่อตั้งโดยท่านคอนด็อก เจลโป มีคำสอนสำคัญคือ ธรรมทอง 13 ข้อ และคำสอนลัมเดร (Lamdre) หลักแห่งมรรคและผล ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างบริสุทธิ์และ ศูนยตา โดยสาระคือความแยกกันไม่ได้ระหว่างสังสารวัฏและนิพพาน พระในนิกายนี้นิยมสวม หมวกหลายสี 4. นิกายเกลุก ผู้ก่อตั้งนิกายนี้ คือ อาจารย์ตสองขะปะ นิกายนี้มุ่งในด้านความ เคร่งครัดทางวินัย การศึกษาพระสูตรและตันตระจะใช้วิธีการวิเคราะห์โดยผ่านทางตรรกวิภาษ พระในนิกายนี้นิยมสวมหมวกสีเหลือง พระราชวังโปตาลา ตอนเริ่มต้นสร้างเป็นเพียงวังเล็กๆ ต่อมามีการก่อสร้างต่อเติม ขึ้นเรื่อย ๆ นับร้อยปี จนเป็นพระราชวังที่ใหญ่โตมโหฬารมีพื้นที่ครอบภูเขาไว้ทั้งลูก พระราชวัง โปตาลาเป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณชาวทิเบต หลังคาประดับด้วยกระเบื้องทองคำ และมี พระเจดีย์หุ้มทองคำเรียงรายกันอยู่ชั้นบนสุด มีห้องต่าง ๆ กว่า 1,000 ห้อง เช่น ห้องประชุมรัฐสภา มีโซนมหาวิทยาลัยสงฆ์ วิทยาลัยการแพทย์ ชาวทิเบตทุกคนที่เดินทางมาเยือนในวินาทีแรกที่ เห็นยอดพุทธวิหารทองคำทุกคนจะคุกเข่าลงสวดมนต์ วัดโจคัง เป็นวัดแรกในทิเบต เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวทิเบตใฝ่ฝันที่จะจาริกไป แสวงบุญให้ได้สักครั้งในชีวิต พระเจ้าซองเซน กัมโปทรงสร้างวัดโจคังขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน 1 นวยาน (ยานทั้ง 9) คือ ยาน 3 ได้แก่ สาวยาน, ปัจเจกพุทธยาน, โพธิสัตวยาน ตันตระสาม ได้แก่ กิริตันตระ เน้นปฏิบัติทางกายให้ถูกต้อง, อุปตันตระเป็นการทำสมาธิโดยการเพ่งในพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์โยคะตันตระ เป็นการพัฒนาพลังจิตที่สอนโดยวัชรสัตว์ ตันตระขั้นสูง ได้แก่มหาโยคะเน้นการปฏิบัติการละวางความยึดมั่นถือมั่น อนุโยคะ ฝึกการทำสมาธิเป็นหนึ่งกับวัชรกาย, อติโยคะ พุ่งไปสู่ขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ เพื่อให้โยคีได้ก้าวข้าม โลกียะตามคำสอนของสมันตภัทรพุทธะ * ตรรกวิภาษ เป็นการโต้คารมโดยใช้หลักเหตุผลมาอธิบาย ซึ่งพระทิเบตจะจับคู่กันฝึกตรรกวิภาษ โดยผลัดกันตั้ง ปัญหาและหาคาตอบมาอธิบายให้รวดเร็วและชัดเจน พระพุทธศาสนาในเอเชีย DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More